เราขอยกบทสัมภาษณ์ของ ดั่งใจถวิล อนันตชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด มายืนยันความคิดนี้อีกครั้ง
ดั่งใจถวิล มองว่า “วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่คนไม่ได้พูดถึง อาจจะไม่ได้รู้ตัวว่าเรามีวัฒนธรรมแบบนี้แบบนั้น แต่เป็นเหมือนกับ DNA Value ที่พร้อมแสดงออกทุกเมื่อที่มีเรื่องมากระตุ้น”
บางครั้งเรากินหมี่หยกก็ไม่ได้รู้ตัวว่าต้องลวกหรือไม่ บางครั้งลวก บางครั้งไม่ลวก แต่เราก็ไม่เคยตั้งคำถาม และไม่เคยหาพวก จนกระทั้งมีจุดกระตุ้นจากสังคมและนั้นก็อาจจะเป็นหนึ่งใน DNA Value ที่ซ่อนอยู่
เมื่อ DNA Value ถูกจุดขึ้น ไม่ว่าจะทางที่ดีหรือทางที่ไม่ดี ก็จะเกิด Crowd Culture หรือวัฒนธรรมฝูงชน ที่เกิดการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วด้วย
โดยตัวช่วยที่ทำให้เกิด Crowd Culture ในเคสนี้คือ Social Media ทำให้แบรนด์ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เพราะผู้บริโภคจะรู้สึกคุ้นเคยกับการเลือกข้าง มีทั้งเลือกที่จะยอมรับ เลือกที่จะต่อต้าน หรือเลือกที่จะดูสถานการณ์
ซึ่งการมีสื่อดิจิทัลที่เชื่อมโยงโลกของผู้บริโภคและโลกของข้อมูลไว้ด้วยกันยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น
พูดง่ายๆ ก็คือวันนี้ผู้บริโภคหาพวกได้ง่ายและเร็วขึ้นนั่นเอง นั่นจึงทำให้มีแฮทแท็ก #ทีมลวกหมี่หยก vs #ทีมไม่ลวกหมี่หยก
ว่ากันว่าประเด็นดราม่าบนโลกออนไลน์ของคนไทย ข้ามคืนไปคนก็ลืมแล้ว MK จะอยู่เฉยๆ ก็ได้เพราะไม่เรื่องเสียหายกับแบรนด์แม้แต่น้อยในกรณีนี้
แต่ MK ก็เลือกที่จะหามุมสนุกของประเด็นนี้นำมาสร้าง Content จนสามารถสร้าง Engagement ได้มิใช่น้อย ยิ่งเทียบกับต้นทุนแล้วยิ่งต่ำมาก
และก็ไม่ใช่แค่ MK เจ้าของแบรนด์ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ยังมีแบรนด์อื่นที่พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวให้เข้ากับกระแสนี้ อย่าง เมเจอร์ และท็อปส์ ขาประจำ เจ้าพ่อแห่งวงการ Real Time Marketing ก็สร้างสีสันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
เมื่อพูดถึงกันเยอะแค่ Content ที่สร้าง Engagement นำไปสู่การสร้างกิจกรรมทางการตลาดเพื่อให้ลูกค้ามาใช้บริการซะเลย
สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ชี้ให้เห็นว่า “วัฒนธรรมเป็นเหมือนกับ Iceberg ที่เรามองเห็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นจากภายนอก แต่สิ่งที่เรามองไม่เห็น สิ่งที่ไม่ถูกพูดถึงยังมีอีกมากมาย”
ไม่เพียงเท่านี้ Marketing You Know? ยังได้สรุปบทเรียนที่ได้จากเคสนี้ให้ผู้อ่านและนักการตลาดได้นำไปคิดกันในทีมว่าเราสามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างทางความคิด และเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าของตัวเองมากพอแล้วหรือยัง
1 เข้าใจ DNA Value
การจะเข้าใจวัฒนธรรมในมุมต่างๆ ของผู้บริโภคไม่สามารถทำได้ในวันสองวัน หรือการทำวิจัย Research แต่ต้องเกิดจากความเข้าใจ คลุกคลี สังเกต DNA Value พร้อมแสดงออกทุกเมื่อที่มีเรื่องมากระตุ้น
2 ยุคที่ผู้บริโภคหาพวก
จะมองเป็นข้อดีก็ได้เพราะถ้าแบรนด์ได้ผู้บริโภคมาเป็นพวกก็ยิ่งจะสร้างความได้เปรียบ แต่บางครั้งก็ต้องให้ความระมัดระวัง เพราะถ้าแบรนด์เกิดข้อผิดพลาดผู้บริโภคก็พร้อมที่จะหาพวกเข้ามาจู่โจมแบรนด์ทันที
เราจะเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Crowd Culture หรือวัฒนธรรมฝูงชน เกิดการรวมตัวกันอย่างรวดเร็วด้วย
3 ความเข้าใจสื่อดิจิทัล
สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เริ่มต้นมาจากทวิตเตอร์ซึ่งเป็นแหล่งรวมที่กำลังเติบโตขึ้นเพราะวัยรุ่นเริ่มเปลี่ยนมาใช้ นั่นก็เป็นตัวชี้วัดว่าแบรนด์เองก็ต้องตามให้ทันว่าสื่อดิจิทัลวิ่งไปอยู่ตรงไหน อะไรคือเทรนด์ของคนกลุ่มไหน อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าเราสนใจ จากการใช้ Social Media จากเคสนี้ยิ่งตอกย้ำว่าดิจิทัลโครตสำคัญ
4 Real Time Content ของจริง
ที่ผ่านมาเราอาจจะได้ยินคำว่า Real Time Marketing กันมาบ้าง แต่ในปีนี้เชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะทำให้นักการตลาดต้องทำงานหนักและท้าทายมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์เแล้วนำมาสร้าง Real Time Content ให้เกิด Engagement กับแบรนด์ในทุกมิติ
5 Content กับ Context
การทำ Content ก็ต้องเข้าใจ Context ด้วยว่าจะมีผลกระทบในเชิงบวกหรือลบ บางครั้งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ไม่เข้าใจ Content แต่ไม่เข้าใจ Context หรือบริบทมากกว่า
ประเด็นเล็กๆ บนโลกออนไลน์ก็มีประโยชน์กับผู้อ่านได้ ถ้าเราเลือกเสพในมุมที่ให้คุณค่ากับเรา แล้วพบกันใหม่กับ Marketing You Know?