เจิ้ง จื้อปิน (ซ้าย) ประธานบริหาร ฝ่ายธุรกิจสมาร์ทซิตี้ระดับโลก กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์
และ เฉิน ซง หัวหน้าสำนักงานก่อสร้างเมืองอัจฉริยะ TEDA
โซลูชั่นนี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์ม AI สี่แพลตฟอร์ม ที่ทำงานสื่อสารกับ IOC อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบบริการอัจฉริยะต่างๆ อาทิ
♦ Resident Voices – มาพร้อมกับเทคโนโลยีรู้จำเสียง และการหาความสัมพันธ์เชิงความหมาย ทำให้ผู้บริหารเมืองรับรู้เสียงของผู้อยู่อาศัยแต่ละราย และมีข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของชาวเมือง
♦ Sensing the City – ใช้เทคโนโลยีจดจำรูปภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน สถานที่ ยานพาหนะและสิ่งของ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
♦ Resident Care – ผสานการเรียนรู้เชิงลึกเข้ากับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ตลอดวงจรชีวิตของบริการ เพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรที่ตอบโจทย์ความต้องการและตรงตามความชอบของผู้อยู่อาศัย
♦ Enterprise Services – นำการวิเคราะห์พหุมิติและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ภายในของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเขต TEDA เพื่อการจับคู่ทรัพยากรบริการที่มีอยู่ได้อย่างแม่นยำตลอดวงจรชีวิตขององค์กร
ว่านเคอ (Vanke) เลือกใช้โซลูชั่น Smart Campus รุ่นใหม่ของหัวเว่ย
ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โซลูชั่น Smart Campus จะเข้ามาสนับสนุนการเติบโตและขับเคลื่อนความสามารถด้านการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจทั่วโลก ทั้งนี้ การสร้าง Smart Campus จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ลึกซึ้ง และแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และมีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงให้กับลูกค้า ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการรองรับการใช้งานในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมในวงกว้าง หัวเว่ยจึงนิยามหลักการทำงานแพลตฟอร์ม Smart Campus ไว้ 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
♦ Smart model: นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลแล้ว แพลตฟอร์มดังกล่าวยังสามารถสนับสนุนการเชื่อมโยง การร่วมมือ และการผสมผสานการทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
♦ Campus space: ข้อจำกัดด้านพื้นที่จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะแคมปัสจะเปลี่ยนจากพื้นที่ทางกายภาพไปเป็นชุมชนเสมือนจริง
♦ Business model: แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากเดิมที่เป็นธุรกิจสแตนด์อโลนไปเป็นธุรกิจแบบหลายมิติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างมูลค่าผ่านการแบ่งปันธุรกรรมระหว่างกัน
♦ Campus operation: การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจะสามารถมองเห็นได้ บริหารจัดการได้ และควบคุมได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ ไปเป็นการดำเนินงานแบบออนดีมานด์

ยวี่ ตง (ซ้าย) ประธานบริหาร ฝ่ายการตลาดและโซลูชั่นอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย
และเซี่ย จื้อฟาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วานอี่ เทคโนโลยี่ จำกัด ในเครือว่านเคอ
หัวเว่ยกำลังดำเนินโครงการนำร่องในการติดตั้งโซลูชั่นแคมปัสที่เป็นระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม ที่สำนักงานของบริษัทเองใน 172 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ว่านเคอ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของจีน ก็กำลังนำเอาโซลูชั่น Smart Campus ของหัวเว่ยมาใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของธุรกิจหลักของบริษัท ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนานวัตกรรม และเร่งผลักดันโอกาสใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทยังร่วมมือกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการนวัตกรรม รวมถึงสำรวจและร่วมลงทุนในสถานการณ์และโมเดลใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาในอนาคต
หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับลูกค้าในระยะยาว โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นอนาคต เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มที่ทรงประสิทธิภาพ ปัจจุบัน มีบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 500 ถึง 211 บริษัท (รวมทั้งบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 100 จำนวน 48 บริษัท) ที่เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการพลิกโฉมธุรกิจของพวกเขาสู่ดิจิทัล
การประชุม HUAWEI CONNECT 2018 จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการเซี่ยงไฮ้ เวิลด์ เอ็กซ์โป ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม ภายใต้ธีม "Activate Intelligence" โดยงานนี้เปิดกว้างสำหรับความร่วมมือและการแบ่งปัน เพื่อให้องค์กรทุกแห่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในโลกอัจฉริยะ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองจากเหล่าผู้นำความคิดในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารภาคไอซีที ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม และหุ้นส่วนในระบบนิเวศ เพื่อเร่งการเดินหน้าและสำรวจโอกาสใหม่ ๆ