“เมื่อเรามีความเชื่อแล้ว ถัดมาคือต้องรู้ว่าเราจะพูดกับใคร ใครคือกลุ่มเป้าหมาย ของสิ่งที่เราเอาไปเล่าแน่นอนว่าแบรนด์หลักมีอยุ่แบรนด์เดียวแต่ซับแบรนด์มีอีกมากมายทุกคนมี DNA เดียวกันแต่ทุกคนมีกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน”
โฉมชฎา อธิบายแบบง่ายๆ ว่า เมื่อก่ออาจจะติดล็อคตัวเองคือไปติดกับว่า How กับ What คือจะเล่ายังไงให้เก๋ให้คนฟังให้ชนะคู่แข่ง
คือถ้าเราตั้งคำถามว่าจะเล่าอะไรและเล่ายังไงจะมีคำตอบมีเป็นล้านๆ อย่างแต่พอโตขึ้นมา Storytelling เป็นอะไรก็ได้ที่ปรับให้เข้ากับคนฟัง คือรู้ว่าจะเล่าให้ใครฟังและปรับให้เข้ากับยุคสมัย แต่สุดท้ายแล้ว Belive มีอย่างเดียว ความตั้งใจความมุ่งมั่นปรัชญาของแบรนด์จะมีเเค่อย่างเดียว
สุดท้ายโฉมชฎา ได้อธิบายถึงองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การสร้างแบรนด์ด้วย Storytelling ประสบความสำเร็จต้องประกอบไปด้วย 2 เรื่องคือ
“มั่นคงในสิ่งที่เชื่อ Purpose ของแบรนด์สำคัญที่สุดจะทำให้เรามีความเชื่อถือเพราะแบรนด์เป็นเรื่องของมนุษย์เป็นเรื่องของคนแบรนด์ไม่ใช่เรื่องของสินค้าให้นึกว่าแบรนด์เป็นเพื่อน ถ้าเพื่อนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทางโน้นทีทางนี้ทีเราก็จะไม่ไว้ใจเพื่อนคนนี้เช่นเดียวกับแบรนด์ที่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นยังไงเป็นอย่างนั้น
สองคือ Human Insight เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับแบรนด์ เวลาทำแบรนด์เราไม่ได้สื่อสารกับคนประเภทเดียวคนกลุ่มเดียวแต่เราสื่อสารกับคนร้อยแบบพันแบบและถ้าเราต้องการเป็นแบรนด์ของโลกยิ่งมีวัฒนธรรมการศึกษาทุกอย่างต่างหมด เพราะฉะนั้น Human Insight ของตลาดที่เรากำลังจะไปเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก”
เมื่อ 2 เรื่องนี้ชัด ไม่ว่าจะ How หรือ What ก็จะตามมาเอง เพราะทุกอย่างตั้งอยู่ภายใต้ความเชื่อเดียวกันคือ For Good Mornings