ในความเป็นจริง สิ่งที่แพลตฟอร์มพยายามทำนั้นน่าสนใจไม่น้อย การช่วยเหลือให้ผู้ใช้ลดและเลิกติดตามบางคนที่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมหรือสนใจกันจริงๆออกจะเป็นการเพิ่มอัตราการมีส่วนร่วมและประสบการณ์การใช้งานให้ดียิ่งขึ้น เพราะทุก Tweet ที่คุณเลื่อนผ่านไปโดยไม่สนใจใยดีนั้น หมายถึงโอกาสในการเอาไปทดแทนด้วยการมีส่วนร่วมอย่างมหาศาล แต่การพยายามแนะนำว่าใครที่ควรติดตามหรือเลิกติดตามนั้น ผู้ใช้งานอาจมองในอีกแง่ว่า เป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวและอาจถูกนำไปใช้ในทางการเมืองได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจของ Twitter ก็น่าสนใจอยู่ดี แพลตฟอร์มต้องการแนะนำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตามบุคคลที่เขาไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันจริงๆในชีวิตจริง นั่นหมายถึง แพลตฟอร์มต้องการให้ผู้ใช้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ดังนั้น บัญชีผู้ใช้ที่ผู้ใช้ได้แต่ติดตามไม่ว่าจะเป็นข่าวสารหรือเหล่าดาราเซเลบทั้งหลาย ก็อาจจะเป็นตัวเลือกที่ต้องพิจารณาด้วยในกรณีนี้
ดังนั้น การที่ระบบแนะนำใครก็ตามขึ้นมาให้คุณ “เลิกติดตาม” ไม่ได้แปลว่า คุณไม่ได้สนใจเขาหรือแปลว่าเขาไม่ค่อย Tweet อะไร แต่อาจเป็นเพราะคุณทั้งคู่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวันมากกว่า
เมื่อเป็นแบบนั้น การพยายามแนะนำให้เลิกติดตามใครก็ตามอาจมองในมุมกลับกันว่าไม่ค่อยจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมนัก เพราะแท้จริงแล้ว คนส่วนใหญ่ที่คุณติดตาม คุณเองก็ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเขาอยู่แล้วเป็นทุนเดิม การพยายามกระทำแบบนี้ของแพลตฟอร์มอาจเป็นการที่ขัดต่อลักษณะพฤติกรรมของผู้ใช้งานอยู่เล็กน้อย
อย่างไรก็ดี Twitter เองก็ถือว่าอาจจะมาถูกทาง ด้วยความตั้งใจที่อยากจะสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้และแพลตฟอร์ม ลดความจำเป็นในการติดตามคนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมระหว่างกัน ในอนาคต มันจะยังส่งผลต่อการนับยอดจำนวนผู้ติดตามที่ดูอาจจะ “เฟ้อ” เพื่อให้ได้ยอดที่มีคุณภาพจริงๆ เป็นการจัดระเบียบแพลตฟอร์มไปด้วยในทางหนึ่ง แม้ว่าการทำแบบนี้อาจทำให้ผู้ใช้โดยเฉพาะพวก Influencer อาจต้องเสียน้ำตาก็ตาม
Source