จุดไคลแม็กซ์ต่าง
ในเรื่องจุดไคลแม็กซ์นี้สามารถอธิบายตามหลักจิตวิทยาได้ว่า นี่คือฟีลลิ่งของความเป็นเจ้าของ ซึ่งทุกเจนจะมีความรู้สึกนี้เหมือนกันหมด ไม่อย่างนั้นคงไม่เกิดอารมณ์การบลัฟกันว่าทีมใครแพ้ทีมใครชนะให้เห็น ซึ่งจุดนี้เจ้าของแบรนด์จะต้องจับอารมณ์ของแฟนบอลแต่ละเจนให้ได้
จุดพีคสุดทางด้านอารมณ์ของ Gen X คือหลังบอลจบ
Gen Y + Z มีช่วงเวลาที่นานว่า Gen X คือ 24 ชั่วโมงหลังแมตช์การแข่งขัน ดังนั้นแบรนด์ต้องหาทางแรกตัวเข้าไป ไปเล่นกับคนกลุ่มนี้ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่ 2 เจนนี้ กำลังเมาท์มันกับการคอมเม้นต์
3 กฎเหล็กการทำ Football Content
การทำ Football Content สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนทีม, การจัดกิจกรรมหรืออีเว้นท์, การบริหารลิขสิทธิ์กีฬา และการโฆษณาผ่านสื่อ แต่ทำยังไงถึงจะเวิร์คที่สุด
1 Business Model
จริงอยู่ว่า Gen X ยังเป็นกลุ่มที่ดูถ่ายทอดสดทางทีวีอยู่จำนวนมาก แต่สำหรับ Gen Y+Z จะชอบไปดูตามลิงค์ที่ไม่ต้องเสียเงินมากกว่า นั่นหมายความว่า คนที่ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดมาจะต้องมี Business Model ที่ดีและรัดกุมมากกว่าอดีต เพราะค่าลิขสิทธิ์มีแต่เพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องหาช่องทางสร้างรายได้ในส่วนต่างๆ เช่น Pay Per View ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดกันเยอะเมื่อ 5 ปีก่อน ตอนนั้นหลายคนคิดว่าตลาดยังไม่พร้อม คนไทยยังไม่ชอบดูลักษณะแบบนี้ แต่ตอนนี้เหตุการณ์เปลี่ยนไป หากลองไปสำรวจดีๆ จะพบว่า มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะ Gen Y+Z นั่นแหละที่อยากดูแค่ไม่กี่แมตซ์ ว่าง่ายๆ คือจะเลือกเฉพาะทีมที่ตัวเองลงแข่ง ก็ไม่ต้องซื้อคอนเทนท์เป็นแพ็กเกจ
2 Brand Engagement
หัวใจของการสร้าง Brand Engagement ของ Sport Marketing คือ การต่อยอดความรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ผ่านความเป็นแฟนพันธุ์แท้ทีมกีฬา เพื่อสร้างแฟนพันธุ์แท้ของแบรนด์ต่อไป ดังนั้นเมื่อรู้พฤติกรรมของแต่ละเจน ก็ควรเข้าไป Engage ให้ถูกที่ถูกเวลา เจ้าของแบรนด์ต้องมาดูเป้าหมายว่าการสร้างแบรนด์ผ่านสปอร์ตคอนเทนท์ว่า ต้องการเชื่อมโยงมากน้อยขนาดไหน ไม่ใช่หยุดอยู่แค่คอนเทนท์ แต่ต้องลากแฟนเหล่านี้ให้มาเกี่ยวข้องกับแบรนด์ด้วย นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการเลือกแพลตฟอร์มว่าจะเข้าไปในรายการถ่ายทอดสด หรือจะเข้าไปแทรกในจุดไคลแม็กซ์ภายใน 24 ชม. หรือจะโปรโมทแบรนด์ผ่านนักกีฬา หรือทำเฉพาะในสเกลของแฟนบอล
3 Pricing
ไม่ว่าเจ้าของแบรนด์จะเลือก Business Model อะไรก็ตาม ต้องมีความชัดเจนในเรื่องงบประมาณที่ลงทุนไปว่ากลับมาตอบโจทย์ KPI ที่วางไว้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย จำนวน หรือการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อวัดผลความคุ้มค่า
สุดท้ายจงจำไว้ว่า การทำ Sport Content เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา อย่างที่เขาบอกกันว่า “ความสำเร็จของกีฬา ครึ่งหนึ่งมาจากกายภาพ ที่เหลือคือจิตใจและเทคนิค” ซึ่งส่วนผสมทั้งหมดจึงเป็น Learning Curve ที่เจ้าของแบรนด์ต้องหาสูตรเฉพาะตัวของตัวเอง
ความเชื่อ
|
ความจริง
|
ข้อมูล
|
เป็นวาระแห่งชาติของคนทุกเจน
ช่วงที่พีคสุดคือ ช่วงเวลาการถ่ายทอดสด
การซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดเป็นทางลัดที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
|
มีความแตกต่างในเรื่องลักษณะการดูของแต่ละเจน
ช่วงที่พีคสุดอยู่หลังการถ่ายทอดสด ตอนนั้นแหละที่กราฟบทสนทนากำลังพุ่ง
เรื่องนี้ไม่จริงเสมอไป พิสูจน์ได้จากแพทเทิร์นการดูกีฬาถ่ายทอดสดของแต่ละเจนไม่เหมือนกัน
|
Gen X จะฟังการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ และดูรายการถ่ายทอดสด (ทีวี,วิทยุ,หนังสือพิมพ์)
Gen Y วิเคราะห์ด้วยตัวเอง เลือกดูเฉพาะไฮไลท์การแข่งขันทางออนไลน์
Gen Z ข้ามไปดูที่ผลการแข่งขันเลย
เว็บไซต์เฉพาะอย่างพันทิพเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของ Gen Y และ Gen Z นอกจากนั้น Gen Y ยังเป็นกลุ่มที่เข้ามาเม้าท์มอยในแอพพลิเคชั่น LINE ด้วย
Gen Y และGen Z ชอบหาลิงค์ดูถ่ายทอดสดทางออนไลน์ แต่ Gen X ยังคงเป็นกลุ่มที่ดูรายการสดจากทีวี
|
วิธีที่เป็น Player ที่ฉลาด
-
ใช้ฐานแฟนคลับ แฟนเพจ หรือผู้ชมให้เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อโปรโมทคอนเทนท์ของตัวเอง
-
ต้องยอมรับความจริงอยู่อย่างว่า การลงทุน และสร้างสปอร์ตคอนเทนท์เป็นเรื่องที่อาจต้องใช้เวลา
-
ใช้แพลตฟอร์ตให้ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ชม
-
ใช้กลยุทธ์ด้านราคาที่ถูกต้องไปกับคอนเทนท์กีฬา