เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าทั้ง 11 เทอมมีอะไรบ้าง และแต่ละเทอมจะเหมาะกับการซื้อขายแบบไหน ลองไปดูกันเลยครับ
EXW – Exworks
ผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้าแค่จุดขายสินค้าเท่านั้น หลังจากนั้น ค้าขนส่ง ความเสียหายต่างๆ ผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง หรือเราเรียกกันว่า ราคาหน้าโรงงาน
FCA – Free Carrier
การส่งสินค้าในรูปแบบนี้ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าถึงแค่สนามบินหรือศุลกากรเท่านั้นเพื่อเตรียมส่งออกไม่ว่าจะทางเครื่องบิน หรือเรือตามการตกลง ทำให้ค่าใช้จ่ายหลังจากนั้น ไม่ว่าจะเป็น ค่าขนส่ง ค่า Shipping และอื่นๆ จะตกเป็นภาระของผู้ซื้อ จำง่ายๆ คือจบแต่สนามบินไม่รวมค่าส่ง
FAS – Free Along Side
ถัดมาอีกหน่อยนึง ผู้ขายจ่ายได้ถึงปลายทางของท่าเรือ หรือการขนส่งสนามบิน ว่ากันง่ายๆ ก็คือผู้ขายส่งฟรียาวถึงแค่ท่าเรือปลายทาง สนามบินปลายทางเท่านั้น ที่เหลือผู้ซื้อรับผิดชอบไป
FOB – Free Onboard Vessel
เงื่อนไขนี้ก็ฟรีนะ แต่ฟรีเฉพาะค่าขึ้นขาไป ระหว่างอยู่ในช่วงการเดินทางไปจนถึงที่หมาย ถ้ามีความเสียหายผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเอง หลังจากนั้นการเปิดรับสินค้าที่ท่าเรือและสนามบินก็ผู้ซื้อนั่นแหละที่ต้องจัดการต่อ
CFR – Cost and Freight
ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง ค่าภาษีศุลกากรปลายทางและความเสี่ยงเมื่อสินค้าถึงเรือหรือเครื่องบิน ถ้าความเสี่ยงระหว่างที่เครื่องบินหรือเรือออกเดินทางผู้ขายจะไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
CIF – Cost, Insurance & Freight
เงื่อนไขนี้ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในการส่งสินค้าทั้ง ค่าขนส่ง และค่าประกัน ระหว่างทางไปที่เรือ จนถึงบนเรือ ถ้าเกิดมีการเสียหายบนเรือผู้ขายต้องรับผิดชอบ แต่หน้าที่ของผู้ขายจะหมดลงเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง พูดง่ายๆ คือมีเรื่องของประกันสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง
CIP – Carriage and Insurance Paid To
ขยับออกไปไกลอีกนิดผู้ขายจะดูแลครอบคลุมไปถึง ช่วงที่ตัวแทนรับสินค้า บริษัทโลจิสติกส์ หรือรถรับสินค้าที่มารับช่วงต่อ เพื่อส่งสินค้าไปถึงมือผู้ซื้อ เงื่อนไขนี้ผู้ขายจะดูแลค่าประกันสินค้า ค่าภาษีศุลกากร และค่าขนส่ง เป็นต้น
CPT – Carriage Paid To
ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย จนถึงปลายทางที่บริษัทขนส่งมารับของ ภาระต่างๆเหล่านี้อันได้แก่ ค่าขนส่ง ค่าประกันสินค้า เหตุการณ์จบลงเมื่อสินค้าถึงรถมารับของไปส่งผู้ซื้อ
DDU – Delivery Duty Unpaid
หรือเรียกเงื่อนไขนี้ว่า Door to Door การส่งมอบสินค้าอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อ ผู้ขายได้จัดให้สินค้า พร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ ผู้ขายจึงเป็นผู้รับผิดชอบการทําพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยขน ส่งสินค้าและ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนําของลงจากเรือและค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ ซื้อระบุไว้จน กระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทางของผู้ซื้อ ผู้ขายต้องเป็นผู้ดําเนินพิธีการนําเข้า สินค้าให้แก่ผู้ซื้อด้วย แต่ผู้ซื้อต้องจ่ายค่า ภาษีนําเข้าเอง
DAP – Delivered At Place
เทอมนี้ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบเองทุกอย่าง ยกเว้นภาษีนำเข้าในแต่ละประเทศปลายทางที่ของจะไปถึง และค่าประกันสินค้า เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาระของผู้ซื้อ
DDP – Delivered Duty Paid
เงื่อนไขนี้ผู้ซื้อจะชอบเป็นพิเศษ เพราะผู้ค้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่งสินค้า ขึ้นรถ ลงเรือ ขนขึ้นเครื่องบิน ค่าประกันสินค้า ค่าศุลกากร ผู้ซื้อไม่ต้องทำอะไร รอรับของอยู่เฉยๆ แต่ก็อาจจะทำให้ ค่ามีต้นทุนที่แพงกว่าปกติหน่อยนะครับ
ความรู้เรื่องการซื้อขายที่เรานำมาฝากวันนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับหลายคน แต่ก็อย่าลืมดูนโยบายการส่งสินค้าของว่ารับได้หรือไม่
หลายคนมักมองข้ามสิ่งสำคัญส่วนนี้เวลาสั่งสินค้า หรือขายสินค้าจากต่างประเทศ ลองทำความเข้าใจไวก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก fastship