2.ทำผ่านการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ของตัวสินค้า เพื่อสร้างความน่าสนใจ และดึงกลุ่มคนที่ดื่มหรือเคยดื่มให้กลับมาดื่ม ตัวอย่างในเรื่องนี้ก็คือ การเปิดตัว “โค้ก พลัส คอฟฟี่” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มโค้ก ผสานกับกาแฟโรบัสต้า เข้าสู่ตลาดเมืองไทย
สินค้าตัวนี้เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะไม่ได้เป็นแค่การเติมกลิ่น หรือรสชาติเข้าไปในน้ำอัดลมเหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่เป็นการนำกาแฟโรบัสต้าเข้ามาผสม ซึ่งผู้บริหารของโค้กในประเทศไทยคือ คุณคลาวเดีย นาวาร์โร ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงเหตุผลในการเปิดสินค้าตัวนี้ว่า นอกจากความชื่นชอบในเครื่องดื่มโค้กแล้ว เราพบว่าผู้บริโภคชาวไทยยังรักการดื่มกาแฟอีกด้วย เนื่องจากช่วยเติมความสดชื่นได้ในเวลาที่ต้องการ โดยเฉพาะในยามบ่าย
การเปิดตัว โค้ก พลัส คอฟฟี่ จึงไม่เพียงแค่จะตอบโจทย์คนดื่มโค้กเท่านั้น แต่ยังข้ามพื้นที่เข้าไปแชร์ตลาดกาแฟสำเร็จรูปที่มีมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาท รวมถึงกาแฟสดมูลค่า 20,000 ล้านบาท อีกด้วย
หากมองเข้ามาในเรื่องของการดื่มกาแฟนั้น อินไซด์หนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีผู้บริโภคบางคนที่นำกาแฟอเมริกาโน่มาผสมกับโค้กเพื่อเพิ่มรสชาติ ครั้งนี้จึงเป็นการตอบโจทย์ที่ลงตัว
อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของการเปิดตัวสินค้าใหม่นี้ ไม่เพียงแค่เป็นหนึ่งสีสันของการทำตลาดเท่านั้น แต่ยังน่าจะเป็นการมองถึงการเข้าไปรักษาฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งถือเป็น Core Target ของตลาดน้ำอัดลมที่ในปัจจุบันเริ่มเข้าไปดื่มกาแฟสดที่หาดื่มได้ง่าย ในราคาที่ไม่สูงนักมากขึ้น การเปิดตัวโค้ก พลัส คอฟฟี่ ส่วนหนึ่งจึงเป็นเสมือนการตรึงฐานลูกค้าวัยรุ่นให้ยังคงอยู่กับน้ำอัดลมต่อไป
3.ให้น้ำหนักกับการทำตลาดน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาลมากขึ้นตามกระแสการใส่ใจสุขภาพ ทั้งโค้ก และเป๊ปซี่ต่างหันมาโหมการทำตลาดสินค้าในกลุ่มนี้ เพื่อตรึงให้คนที่ไม่อยากดื่มน้ำอัดลมเพราะมีน้ำตาล หันกลับมาดื่ม
4.สร้างวาไรตี้ของแพ็กไซส์ เพื่อตอบโจทย์การดื่มในโอกาสที่หลากหลายแตกต่างกันไป กลยุทธ์ในเรื่องของความหลากหลายของแพ็กไซส์หรือไซส์ซิ่งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์หลัก เพราะสินค้าแต่ละไซส์จะตอบโจทย์การดื่มไม่เหมือนกัน ขณะที่แพ็กไซส์หรือไซส์ซิ่งนี้ยังเป็นตัวช่วยในการเข้าหาลูกค้าแต่ละกลุ่มได้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ กรณีของเป๊ปซี่ ที่มีการปรับโฉมแพ็กเกจจิ้งแบบแคนด้วยการปรับให้เป็นสลีท หรือสลิมแคนหมด โดยไซส์สลิมแคนขนาดเล็กนั้น สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนดื่มที่เป็นสาวออฟฟิศที่อยากดื่มน้ำอัดลม ในบางเวลาด้วยปริมาณไม่มากนัก
ขณะที่การตอบโจทย์กลุ่มวัยรุ่นที่มีการดื่มในปริมาณค่อนข้างมากนั้น เป๊ปซี่มีการออกตัวบิ๊กแคน ขนาด 375 มล.ในราคา 15 บาท ซึ่งเป็นปริมาณการดื่มต่อครั้งที่พอดีกับการดับกระหายของกลุ่มวัยรุ่น
กลยุทธ์ในเรื่องของแพ็กไซส์ยังเข้ามาเป็นตัวช่วยในการขยายฐาน พร้อมกับการสร้างโอกาสในการดื่มที่ง่ายขึ้น อย่างการออกโค้ก หรือเป๊ปซี่ในขวด PET ราคา 10 บาท ซึ่งถือเป็น Magic Price Point ของตลาดนี้ เพราะราคา 10 บาทนั้น ถือเป็นราคาที่ควักซื้อได้ง่าย เหมาะกับการขยายฐานการดื่มในช่องทางร้านค้าดั้งเดิมหรือร้านโชวห่วย
ทั้งหมดนั้น เป็นอีกความเคลื่อนไหวที่มีเป้าหมายในการรักษาพื้นที่กระเพาะของผู้บริโภคเพื่อให้ยังคงมีการบรรจุน้ำอัดลมเข้าไปอย่างต่อเนื่อง