Q : ถ้าอย่างนั้นการมี Killer Product Killer Service หรือ Killer App สำหรับยุคนี้ ก็อาจไม่สำคัญ ?
A : สำคัญ มันเป็น Killer at That Moment
ถ้ามันมี Lead Time ในช่วง Lead Time คุณเก็บได้เยอะ คุณมีสิทธิ์จะเป็น Winner เขาให้สิทธิคุณ คุณมี โอกาสมากกว่าคนอื่น แต่ไม่ใช่ Proven Win
ยาสีฟันสมัยก่อน คนแรกที่ใส่ฟลูออไรด์ เพื่อป้องกัน Cavity ตื่นเต้นมาก มันมีเวลาเก็บเกี่ยวลูกค้าอยู่ 6 เดือนเลยนะ กว่ารายที่ 2 จะมา แต่วินาทีที่รายที่ 2 บวกกับที่เหลือมา มันเปลี่ยนภาพไปหมดเลยจากที่มีแค่เจ้าเดียวที่มีฟลูออไรด์ ทุกเจ้ามีฟลูออไรด์หมด
Killer Product Become Commodity
คุณมี Lead Time ถ้า Lead Time อันนั้น ไม่สามารถ Make you Lead For The Rest Phase เราก็เป็นแค่รายต้นๆ ไม่ได้หมายความว่า เราจะเป็นผู้ชนะในระยะยาว
เราเป็นคนเริ่มต้น Samsung Pay เราเป็น Leader , Market Share เกินคนอื่นเขาหมด วันนี้เราก็ยังโอเค แต่มันไม่มี Scale Scale มันไม่ได้ใหญ่ มันเป็น Image
มันต้องรู้ตั้งแต่ต้นว่า This is Business for Revenue หรือ for Reputation อันนี้เป็นเรื่อง Image เราต้องการ Image
Q : เราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ที่วัดประสิทธิภาพโดยปัจจัยที่เป็นตัวเลข ถ้ายกส่วนที่เป็นตัวเลขออกไป ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่สร้างความพึงพอใจมากที่สุดให้คุณระเฑียร คือ เรื่องอะไร วัดอย่างไร ?
A : ผมพอใจพัฒนาการของพนักงาน
ผมเชื่อว่า ความยั่งยืนระยะยาวของบริษัท ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของคนใน KTC คนของเราวันนี้ดีกว่าเมื่อวาน คนเราวันนี้เก่งกว่าเมื่อวาน คนเราวันนี้มีความเข้าใจธุรกิจดีกว่าเมื่อวาน
Q : มันเป็นนามธรรมหรือเปล่า ?
ระเฑียร : อันนี้ไม่นามธรรม คำว่าดีกว่าเป็นนามธรรม แต่เราวัดว่า Productivity ของเขาเพิ่มขึ้นหรือเปล่า Productivity ไม่ใช่นามธรรม เราวัดความเข้าใจของเขามากขึ้นหรือเปล่า เราวัดระดับของความรู้ของเขาว่ามากขึ้นหรือเปล่า
ถ้าพีอาร์ของผมรู้แต่เรื่องพีอาร์หมด ปีหน้าถามพีอาร์ว่าการตลาดที่ทำมานี้ทำอะไรยังไง แล้วบอกว่านี่ไม่ใช่ เซ็กเม้นต์หนู อันนี้ใช้ไม่ได้ แต่ถ้ารู้ว่า เวลาเกิดอะไรขึ้นมันเป็นยังไง ถ้า Back Office รู้ว่าใครอยู่ในบริษัท และคนอื่นเขาทำอะไร เขาอาจไม่รู้รายละเอียด แต่รู้ว่ากำลังทำอะไร ทำด้วยวิธีไหน ผมคิดว่า มันคือความก้าวหน้าแล้ว
แต่ถ้าเข้าใจมากขึ้น คอมเม้นต์ได้ว่า อันนี้ไม่น่าจะทำนะคะ จริงๆ แล้วมีอีกคนที่ทำแบบนี้ อย่างนี้มี Courage ด้วย เป็นคน KTC อันนี้ก็สำเร็จอีกระดับหนึ่ง คือ ใส่ใจเรื่องบริษัทด้วย ไม่ใช่ของตัวเองอย่างเดียว แสดงว่า ออกนอกกรอบของไซโลแล้ว นี่ก็ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง พวกนี้ไม่ใช่ของที่วัดไม่ได้ แต่แน่นอน ต้องวัดด้วยวิธีเทียบเคียง
คำว่าดีขึ้น เป็นนามธรรม เป็น Qualitative ต้องทำให้เป็น Quantitative
Q : ผลประกอบการที่เติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมหลายไตรมาสติดต่อกัน ทำได้อย่างไร ?
A : ผมคิดว่าปัจจัยสำคัญคือ ข้อมูล เรามีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เช่น โปรโมชั่น จะทำได้ต้องมีข้อมูล ไม่อย่างนั้นมันก็ตาบอด แล้วทำโปรโมชั่นไป คุณมีทางเลือก 2 อย่าง ทำโปรโมชั่นแรงๆ และจ่ายเงินมหาศาล กับเลือกทำโปรโมชั่นที่ได้ผล
เวลาทำสมมติว่าจะให้ส่วนลด 20% คำถามผมคือ ทำไมต้องให้ 20% ทำไมไม่ใช่ 15% ทำไมไม่ 10% ผมชอบสอนอย่างนี้ ถ้าคุณบอก 15 ก็ได้ค่ะ แสดงว่าขอเกิน ขอเผื่อต่อ
คุณบอก 15 ก็ได้ค่ะ ผมก็ถามต่อ แล้วทำไมไม่ใช่ 10 คุณก็ต่ออีก 12 12 สูงกว่า 10 คำตอบมันมีสารพัด แต่มันคือวิธีเรียนรู้ คือ เราพยายามบอกว่า คำถามที่ตอบยากที่สุด จริงๆ ไม่ใช่ว่าอะไรเกิดขึ้น เป็นคำถามว่า How เกิดขึ้นได้อย่างไร
ผมถามว่า ทำไมพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ก็เกิดมามันก็ขึ้นทางทิศตะวันออกใช่หรือเปล่า เพราะโลกมันหมุน มันไม่ใช่ทายนะ แต่เราไม่เคยสงสัย เรื่องที่ก่อให้เกิดปัญญาเลย ถ้าไม่ใช่คนรัก หรือสนิทกันมา เราจะไม่ Challenge ด้วยวิธีพวกนี้
การ Challenge เป็นวิธีพัฒนาคน
ความแตกต่างคือ ให้ยิ่งน้อย Cost มันยิ่งน้อย ทำไมต้องจ่ายเงินเยอะขนาดนั้น
Q : แต่มันไม่ดึงดูด ?
ระเฑียร : ถูก ..... อย่างนั้น อย่างไรเรียกดึงดูด ลูกน้องผมต้องตอบได้ ถ้าคุณตอบไม่ได้ ก็ต้องไปหาคำตอบมา
Q : แต่คำตอบก็มีได้หลากหลายมาก เพราะเป็นไปได้ตั้งแต่ 11-20 ?
A : ไม่เป็นไร มันฝึกให้คนคิด และคิดนอกกรอบด้วย คิดที่จะหามาซึ่งคำตอบ เริ่มคิดอะไรมากขึ้น ปัญหาวันนี้เกิดจากคนไม่ค่อยคิด มากกว่าคนคิด คนที่คิดมากแบบไม่มีสาระ เรียกว่าคนโรคจิต แต่คนคิดมากแบบมีสาระ สมองจะพัฒนาขึ้น
Neuro Causticity เกิดจากการใช้สมอง และสมองเป็นอวัยวะส่วนเดียวที่ใช้ได้ 24 ชั่วโมง โดยไม่รู้จักคำว่าเหนื่อย คุณใช้มากจริงๆ มันทำให้หิวเท่านั้นเอง อยากได้สารอาหารเพิ่ม
Q : ประเด็นที่ควรระมัดระวังมากที่สุดในการบริหารองค์กร ที่มีผลประกอบการดีต่อเนื่องอย่างเคทีซีคืออะไร ?
A : เมื่อไหร่ที่เป็น Complacence
Complacency คือ ความใจเย็นว่า เราโอเคแล้ว ไม่ระแวง ไม่ระวัง
Complacence คือ เวลาทำธุรกิจ พอทำดีปุ๊บ เราก็ใจเย็นว่าเราโอเคแล้ว มีอะไรเกิดอะไรขึ้นสักอย่างก็บอกว่า ไม่เป็นไรหรอก เพราะเราใหญ่เหลือเกิน มันจะมีอะไรมากระทบได้อย่างไร
มันจะตรงข้ามกับ Agile ตรงข้ามกัน ถ้า Agility อะไรเกิดขึ้นปุ๊บ มันจะมีผลอะไรกับเราหรือเปล่า ถึงแม้เล็กๆ แต่ต่อไปมันจะใหญ่ขึ้นได้หรือเปล่า คือ ระมัดระวังทุกอย่าง
Complacence คือ ไม่หรอก ไม่เป็นไรเลย อันนี้น่ากลัว
Q : เป็นไปได้หรือครับว่าเรื่องแบบที่ว่าจะเกิดขึ้นกับเคทีซี ?
A : ผมว่ามันเป็นไปได้ ก่อนหน้านี้ เราพูดถึงเรื่อง VUCA (Volatility Uncertainty Complexity Ambiguity)
ประเด็น คือ โลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก โดยเฉพาะ Technology Disruption เพราะฉะนั้น ผมว่า มันมาถึงเมืองไทย และอยู่ในกระแสนี้เต็มตัวแล้ว
เราก็จะเห็น Disruption ที่เกิดขึ้นกับหลายๆ เซ็กเม้นต์ และมันก็มาสู่เซ็กเม้นต์ของภาคธนาคาร ของธุรกิจการเงิน
Disruption อันนี้ มองได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านลบ อาจจะมองเหมือนเป็น Thread แต่ก็เป็น Opportunity ของเรา คนที่ไม่เคยมีสาขาเป็นหลายร้อยสาขา ไม่มีคนนับหมื่นคน นี่เป็นโอกาสที่จะเข้าไปแข่งขัน
เวลาเราแข่งเราก็แข่งกับบัตรเครดิตของเขา เขาก็มีข้อได้เปรียบคือ มีธุรกิจเสริมซึ่งกันและกัน ส่วนของเรา ข้อเสียเปรียบ คือไม่มี Cross-sell ข้อได้เปรียบ คือ คล่องตัวมากกว่าเยอะ เพราะตัวเล็กกว่า