ดังนั้นเพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยสู่โมเดลใหม่ ดร. เสาวรัจ ได้กล่าวถึงข้อเสนอแนะทางนโยบาย ซึ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างจริงจังและต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อาหาร โดยสร้างความรับผิดชอบ และขยายโอกาสของคนไทยในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะ ดังนี้
1) แจกคูปองฝึกทักษะ (คล้ายกับโครงการ SkillsFuture ของประเทศสิงคโปร์)
-แจกประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป เช่น คนละ 6 พันบาท ทุกสามปี
-เลือกฝึกทักษะที่ต้องการได้จากสถาบันที่ผ่านการรับรองคุณภาพ
2)สร้างความรับผิดชอบของสถาบันการศึกษาและสถาบันฝึกอบรม
-เผยแพร่ข้อมูลการมีงานทำ และรายได้ของผู้เรียนรายสถาบันและสาขาวิชา เพื่อให้ผู้เรียนมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกเข้าเรียนในสถาบันการศึกษา และสาขาวิชาต่างๆ
3)สถาบันการศึกษาควรร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และเน้นการนําไปปฏิบัติได้จริง
-เพิ่มการสอนทักษะเฉพาะวิชาชีพที่จำเป็น รวมทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
-ควรให้นักศึกษาทำศิลปนิพนธ์/ วิทยานิพนธ์ เพื่อเรียนรู้การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้เรียนมา
-ให้นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการ และเตรียมพร้อมนักศึกษาก่อนที่จะเข้าไปฝึกงานจริง
-ควรให้ผู้ประกอบการที่ทำงานจริงมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
4)ส่งเสริมให้แรงงานสร้างสรรค์ทักษะสูงจากต่างประเทศ เข้ามาทำงานในประเทศ
-เพิ่มสมาร์ทวีซ่าให้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระที่อยู่ในกลุ่มอาชีพสร้างสรรค์
-ปลดล็อกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค เช่น การจํากัดการเขามาทำงานของสถาปนิกต่างชาติทักษะสูง