เศรษฐกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซ้อปของคนไทย แต่สิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาจากโครงสร้างทางสังคมที่เข้ามามีส่วนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาค่อนข้างมาก ไล่จาก
1.พวกเขามองถึงเรื่องของความสะดวกสบายในการช้อป ซึ่งการมาที่สโตร์แล้วช้อปเป็นจำนวนมาก น่าจะไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้องการอีกต่อไปแล้ว เพราะมีการสร้างฟอร์แมตของร้านค้าปลีกที่ทำให้เข้าถึงการซื้อได้ง่ายขึ้นแบบทุกที่ทุกเวลา ทั้งฟอร์แมตที่เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็กกระจายเข้าไปในชุมชนต่างๆ และตัวช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีส่วนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้ออย่างมาก
ตัวอย่างในเรื่องของความสะดวกในการช้อปนั้น ยังรวมถึงเรื่องของการเดินทางที่โครงสร้างของเมืองเปลี่ยนไป ขณะที่ในสมัยก่อน จำนวนคนหารด้วยจำนวนรถจะมีแค่ 20% แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 80% ทำให้เป็นเรื่องที่ยากลำบากในการฝ่าการ จราจรที่ติดขัดเพื่อเข้ามาช้อปปิ้งเพียงอย่างเดียว
2.ประสบการณ์ในการช้อปกับไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เคยสร้างความตื่นตาในอดีตก็คือเรื่องของการขายสินค้าราคาถูกแบบ Everyday Low Price กลายเป็นเรื่องเบสิกที่ไม่มีความแปลกใหม่ไปแล้ว ทำให้ผู้เล่นทั้ง 2 ราย ต่างหันมาใช้กลยุทธ์ราคาในรูปแบบที่ช็อกไพร์ซ เพื่อกระตุ้นการซื้อ อย่างกรณีของเทสโก้ โลตัสที่สร้าง Perception ในการเป็นร้านค้าปลีกราคาถูกด้วยแคมเปญ โรลแบ็ค
3.โครงสร้างของขนาดครอบครัวที่เปลี่ยนไป เป็นครอบครัวขนาดเล็ก ทำให้ไม่จำเป็นต้องซื้อสินค้าเพื่อสต๊อกแบบเกินความจำเป็นในการใช้ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ผู้บริโภคต้องประหยัด
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่สามารถทำให้การช้อปปิ้งเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้วสัมผัส แถมมีความสะดวกสบายมากกว่า ทำให้เทรนด์ของตลาดค้าปลีกบ้านเราเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น
การเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ตแนวคิดใหม่ของโลตัสที่ถนนเลียบคลองสอง เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการเปิดสาขาใหม่สาขาแรกในปี 2565 คือภาพสะท้อนในเรื่องดังกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี
โลตัสสาขาเลียบคลองสอง เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ตในคอนเซ็ปต์ใหม่ นั่นคือจะมาด้วยแนวคิด Smart Community Center จุดศูนย์รวมในการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ท ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้าในแต่ละพื้นที่ มีความโดดเด่นและแปลกตาไปจากสาขาทั่วไป เพราะเป็นสาขานำร่องสาขาแรกที่ถูกออกแบบในสไตล์ Open Air Mall มีพื้นที่ร้านค้าเช่าตั้งอยู่นอกอาคารหลัก ดึงร้านอาหารแบรนด์ดังใหม่ๆ มาร่วมเป็นพันธมิตร รวมถึงเปิดพื้นที่สำหรับ Food Truck และร้านค้ารายย่อยเติมเต็มความเป็น Food Destination
การเปิดสาขาในรูปแบบดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายของโลตัส คือการเป็น Smart Community Center ที่เป็นจุดศูนย์รวมสำหรับการใช้ชีวิตในแบบสมาร์ทของลูกค้า นอกเหนือจากการเป็นแหล่งช้อปปิ้งสินค้าคุณภาพสูงครบครัน ยังต้องเป็นพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมอื่นๆ ของลูกค้าทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหาร จับจ่ายใช้สอย ใช้บริการ รวมถึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนไทยที่มองถึงการมาไฮเปอร์มาร์เก็ตมากกว่าแค่การช้อปปิ้ง แต่คือการใช้ชีวิต