1.Trigger : สิ่งกระตุ้น
คือสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์หรือความเจ็บปวดที่กระทบกระเทือนจิตใจ ซึ่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไป เช่น กลิ่น เสียง ความรู้สึก หรือคำพูด ดังนั้นเมื่อมีการกระตุ้นในที่นี้อาจกล่าวได้ว่าเป็น First Message Alert โดย Trigger เป็นอะไรที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า และถือว่าเป็นจุดที่ดีที่สุดในการ Control ดราม่า แต่ทว่าเรามักจะหา Trigger ไม่เจอจนกระทั่งดราม่าเกิดขึ้น
ในทางการตลาดสามารถแบ่งกลุ่ม Most Common Drama : 4 P ดังนี้
มักจะเกิดจากการถูกแคปเจอร์ หรือมาในรูปแบบของการรีวิว
เกิดขึ้นจากการขาดความรอบคอบในตอนแพลนนิ่ง นำมาซึ่งการลืมสิ่งต่างๆ และเกิดความขาดตกบกพร่องในที่สุด
เมื่อเหตุเกิดขึ้นไม่สามารถ Handle ได้ เผชิญกับคำถามที่ไม่สามารถตอบได้จึงตอบได้ไม่กระจ่างหรือเป็นที่ยอมรับ
มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด โยนความผิด หาคนรับผิดชอบไม่ได้
เมื่อเกิดเรื่องดราม่าขึ้นในโลกออนไลน์มักจะมีการขุดสิ่งต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นหรือกระทำลงไป แม้กระทั่งถุงที่ถือหรืออะไรเล็กๆ น้อยๆ กว่านั้น ตลอดจนสามารถถูกนำไปโยงกับ Vision ในอดีตได้ จากสาเหตุการเกิด Trigger พบว่า Lead ที่ทำให้เกิดดราม่าส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากตัวเรา แต่มักจะเกิดจากเหตุปัจจัยภายนอก บางครั้งอาจจะถูกโยงให้เข้าไปเกี่ยวในดราม่าที่เราไม่แม้แต่จะควรเกี่ยวด้วยซ้ำ
ดังนั้นการ Monitor ดราม่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ ในปัจจุบัน ไม่งั้นอาจมีบัตรเชิญมาเข้าร่วมดราม่าโดยไม่ได้นัดหมายได้
2.Panic : ตื่นตกใจ
คือภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นอย่างคาดการณ์ไม่ได้ อย่างเมื่อเราเจอ Information ที่สนใจมากบน Social Media จึงต้องการกดแชร์ไปต่อซึ่งการแชร์ ณ จุดนี้กล่าวได้ว่าเป็นความเอนจอยในการเม้ากับเพื่อนเมื่อมีการแชร์หรือแท็กเพื่อน ถือได้ว่าข้อมูลถูก Spreading ออกไปแล้ว เหล่านักสืบออนไลน์เริ่มทำงาน ดังนั้นต้องรีบเคลียร์ดราม่าให้ได้ใน Period นี้ ก่อนที่จะเกิดการ Debating เพราะหลังจากนั้นแล้วจะไม่สามารถคอนโทรลดราม่าได้อีกต่อไป
3.Discuss : หารือ
คือการที่คนมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ถกเถียง หรืออภิปราย ซึ่งใน Social Media เราไม่สามารถรู้จักตัวตนที่แท้จริงของทุกคนได้ ไม่รู้ว่าเขาจะรู้ข้อมูลที่แท้จริงมามากน้อยแค่ไหน แต่ในขณะที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นต่างๆ ออกมาได้ จึงถือได้ว่าการที่คนออกมา Debate โดยอาจจะไม่รู้ข้อมูลอะไรเลยหรือ Talks of the Unknowns ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ และถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดอีกด้วย เนื่องจากเมื่อคนไม่รู้คุยกับคนไม่รู้ไม่มีความจริงอยู่ในนั้น สามารถทำให้เรื่องมันระเบิดออกไป แตกเพิ่มออกไป บานปลายจนเกิดอีกกี่ประเด็นตามมาก็ไม่สามารถรู้ได้เลย
4.End : จุดจบ
คือจุดจบหรือปลายทาง ทุกดราม่ามีจุดจบ แต่ไม่ใช่ทุกจุดจบที่จะ Happy Ending สามารถแบ่งจุดจบได้ 3 แนวทางดังนี้
-
Clear : ปริศนาทั้งหมดไขกระจ่างชัด อาจจะเพราะมีการแถลงอย่างเป็นทางการ มีคนออกมาชี้แจงในส่วนต่างๆ เรื่องนั้นๆ จบอย่างเรียบร้อยราบรื่น
-
Pause : ดราม่าถูกหยุดไปโดยกะทันหัน อาจเนื่องด้วยผู้คนไปให้ความสนใจกับประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นแทน จนทำให้
ดราม่านี้ถูกกลบแต่ในบางครั้งก็มีการจะวกกลับมาอีก ในมุมฝั่งของแบรนด์อาจจะถือเป็นโอกาสในการหายใจมีเวลาคิดหาแนวทางแก้ไขซึ่งจุดจบลักษณะนี้มักจะพบบ่อยที่สุด
-
Meme : การนำมาทำเชิงล้อเลียน เลียนแบบเพื่อความสนุกสนานมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ประเด็นนั้นๆ หาทางลงไม่ได้ นอกจากยอมรับจึงทำให้เรื่องจบลงอย่างมีสีสันเพิ่มความตลกลดความซีเรียส เช่น ชื่อกรุงเทพฯ ภาษาอังกฤษที่มีประกาศออกมาว่าจะเปลี่ยนจาก Bangkok เป็น Krung Thep Maha Nakhon จะเห็นได้ว่าช่วงนั้นมีคนออกมาทำมีมตั้งข้อสงสัยในส่วนของ ชื่อมหาลัย ป้าย และอื่นๆ ว่าจะต้องเปลี่ยนตามด้วยหรือเปล่า หรืออย่างไร