รวมถึงของใช้ในครัวเรือน ทั้งสินค้านำเข้าจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ เน้นดีไซน์ทันสมัย ฟังก์ชั่นในการใช้งานครบครัน และนวัตกรรมของสินค้า อาทิ กลุ่มหมอน มีครอบคลุมทั้งหมอนกันไรฝุ่น, หมอนพรีเมียมเกรดโรงแรม, หมอนสุขภาพ, หมอนสำหรับนอนตะแคง และหมอนเด็ก, กลุ่มผ้าปูที่นอนมีทั้งผ้าปูที่นอนใยไผ่ และใยฝ้ายธรรมชาติ, กลุ่มเครื่องครัวมีกระทะที่ผลิตด้วยนวัตกรรมเคลือบผิว 3 ชั้นแบบรังผึ้ง ไม่ติดกระทะ, หม้อกระจายความร้อนเร็ว จับไม่ร้อนมือด้วยด้ามจับ เบกาไลท์ และกลุ่มคลีนนิ่งมีครอบคลุมทั้งไม้ถูพื้น, ถังปั่นสเตนเลสพรีเมียม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกมากมาย และสินค้าอีกหลากหลาย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีสินค้าในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้าน เน้นฟังก์ชั่นการใช้งานที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้า อาทิ โซฟาเบดปรับระดับ, เก้าอี้สำนักงานที่รองรับถูกหลักสรีระ สินค้าแคมปิ้ง อาทิ เต็นท์สนามและเก้าอี้สนาม ถุงนอน อุปกรณ์แคมปิ้งต่างๆ และสินค้าตามซีซั่นเทศกาลช่วงต่างๆ เพื่อเพิ่มความแปลกใหม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน มีสินค้าครอบคลุมหลากหลาย อาทิ เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องชงกาแฟ กาต้มน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ บิ๊กซี เลือกส่ง We Are Fresh สินค้าในกลุ่มอาหารสด เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนการทำตลาดเพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของบิ๊กซีให้เป็นร้านค้าปลีกที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบคนเมือง
สินค้าในกลุ่มอาหารสดนี้ ถือเป็นตัวช่วยสร้างความแตกต่างได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงเท่านั้น ยังเป็นตัวช่วยเพิ่มความถี่ในการช้อปของลูกค้าได้ เพราะอาหารสด เป็นสินค้าที่ต้องบริโภคทุกวัน ทำให้เราได้เห็นการโหมทำโฆษณาของบิ๊กซีในเฮ้าส์แบรนด์กลุ่มนี้ โดย We Are Fresh จะครอบคลุมสินค้ากว่า 2,000 รายการ อาทิ สินค้ากลุ่มผัก ซึ่งมีให้เลือกสรรถึง 3 ชนิด ได้แก่ ผักเกษตรอินทรีย์(Organic) 100%, ผักไฮโดรโปนิกส์(Hydroponic) และผักปลอดสารพิษ(Hygienic) สินค้ากลุ่มผลไม้ ทั้งผลไม้ไทย และผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศ กลุ่มเนื้อสัตว์และกลุ่มไข่ไก่ คัดสรรพันธุ์ดีจากฟาร์มคุณภาพได้มาตรฐานฟาร์มกรมปศุสัตว์ ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน เลี้ยงอย่างพิถีพิถัน ปราศจากสารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตและปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ อาทิ ปลา หมู ไก่ ไข่ และกลุ่มอาหารทะเล ทั้งปลาน้ำจืด-น้ำเค็ม กุ้งขาว และอาหารทะเลแห้ง เป็นต้น
สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ที่ถูกส่งลงตลาด มีการใช้กระบวนการต่างๆ ที่ไม่ผิดไปจากการสร้างแบรนด์สินค้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งของซัพพลายเออร์ จะต่างกันก็คือ ในแง่ของอะแวร์เนส แบรนด์ของซัพพลายเออร์อาจจะมีมากกว่า เพราะอยู่ในตลาดและผ่านกระบวนการในการสร้างแบรนด์มายาวนานกว่า
แต่เมื่อเชนค้าปลีก เริ่มหันมาสร้างแบรนด์เฮ้าส์แบรนด์ของตัวเองอย่างจริงจังผ่านการโฆษณาทั้งสื่อหลักและสื่อเสริม รวมถึงใช้เครื่องมือในการสร้าง Brand Engagement อย่างเต็มรูปแบบ เชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้ สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ จะเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น
ว่าไปแล้ว ยักษ์ค้าปลีกแต่ละราย มีไบเบิ้ลหรือสูตรสำเร็จที่ยึดถือในการทำเฮ้าส์แบรนด์ทุกครั้ง ก็คือ ใช้คุณภาพนำหน้า ตามด้วยความคุ้มค่าคุ้มราคา และต้องมีในเรื่องของความน่าเชื่อถือ ที่มีแบรนด์ของสโตร์หรือร้านค้าเป็นเรื่องการันตี โดยแต่ละรายจะมีแผนกวิจัยและพัฒนาสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ ทำวิจัยกับผู้บริโภคเพื่อควานหาสิ่งที่เขาต้องการ
ส่วนเหตุผลในการเลือกที่จะเริ่มต้นทำตลาดกับสินค้าที่มีลอยัลตี้ต่ำๆ อย่างกระดาษทิชชู่ หรือสินค้า Commodity Product ต่างๆ นั้น เป็นเพราะค้าปลีกแต่ละราย ต้องการเจาะเข้าไปในส่วนที่ง่ายที่สุดก่อน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้ และเมื่อเกิดการทดลองใช้แล้วจะทำให้เกิดการรับรู้ถึงคุณภาพของสินค้า การต่อยอดมาสู่สินค้าที่มีลอยัลตี้สูงๆ จึงไม่ใช่เรื่องยาก ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงแนะนำตลาด สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ส่วนใหญ่ที่เราเห็นจึงเป็นสินค้าที่ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ ขณะที่ในปัจจุบัน ซึ่งผ่านพ้นช่วงแนะนำตลาดไปแล้ว จึงมีการขยับมาที่ตัวที่ยากและหลากหลายมากขึ้น
ด้วยทิศทางของการเติบโตและแนวโน้มในเรื่องของการแข่งขันในตลาดค้าปลีกของบ้านเรา ทำให้ในปัจจุบันเราได้เห็นเฮ้าส์แบรนด์หรือไพรเวท ลาเบล ที่หน้าตาแปลกๆ ไปจากท้องตลาดอาจจะเป็นการอิมพอร์ตเข้ามาวางขาย เพราะนั่นคือการสร้างลอยัลตี้ ที่จำเป็นอย่างยิ่งในยุคของการทำ Retail Branding ที่ต้องขายกันในเรื่องของความแตกต่างที่จับต้องได้แบบลงลึกเข้าไปในหัวใจของผู้บริโภค.....