อย่างไรก็ตาม หากมองเข้ามาที่การทำ Collaboration Marketing แล้ว จะมีลำดับขั้นตั้งแต่
1) การ Co – Branding ในลักษณะของการพัฒนาแบรนด์ร่วม หรือ Co-Brand อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการตลาดโลก เพราะมี Co-Brand ให้เห็นมาโดยตลอด แต่ในยุคของ End of Alone เทรนด์ในเรื่องของการ Co – Branding จะมีออกมาให้เห็นกันมากขึ้น
เหตุผลสำคัญของการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด Co-Brand เกิดขึ้นจากหลากหลายความต้องการ คือ
ประการแรก เพื่อนำสินค้าและบริการของบริษัทหนึ่งให้แก่ฐานลูกค้าหลักของอีกบริษัทหนึ่ง
ประการที่ 2 เพื่อให้สินค้าและบริการได้ประโยชน์จากความมีชื่อเสียง ความเชื่อถือที่มีในแบรนด์อีกแบรนด์หนึ่ง
ประการที่ 3 เพื่อการประหยัดต้นทุนของการจัดแคมเปญส่งเสริมการตลาดที่ลดลงจากการ Co-Brand เทียบกับที่ แต่ละแบรนด์ดำเนินการกันเอง
2) Co – Marketing เป็นกลยุทธ์ประสานความร่วมมือกันเพื่อสร้างพลังให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นภาพที่มีออกมาให้เห็นมากขึ้น ในยุคแห่งการร่วมมือทางการตลาดเหมือนอย่างปัจจุบันนี้
3) Co – Technology จะเป็นอีกแนวทางที่มีออกมาให้เห็นมากขึ้น โดย Co – Technology ถือเป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างหรือพัฒนานวัตกรรมที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งจะช่วยสะท้อนภาพของความเป็นแบรนด์หรือองค์กรที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของทั้งคู่ออกมาอย่างโดดเด่น
4) Co - Creation ตัวอย่างของเรื่องนี้ก็คือการจับมือกันของแอปเปิ้ลกับไนกี้ ทำในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ไอโฟนเป็นตัว หลักหรือไอพอดเป็นตัวหลัก เอาเซ็นเซอร์ไปใส่ไว้ที่รองเท้าและมีเซ็นเซอร์ที่มือถือ ถือเป็นการพัฒนาร่วมกัน เป็นการ Extended ความสามารถของแอปเปิ้ล ในขณะที่ไนกี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองก็เอา Resource จาก 2 บริษัทมาร่วมกันทำให้ต้นทุนต่ำลง และทำให้เกิดความสามารถใหม่ๆ ได้ดีขึ้น และทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถขยายฐานลูกค้าได้