“เอสซีบี ดีแบงก์” (SCB DBANK) หน่วยงานด้านดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผู้ให้บริการส่งพัสดุและเป็นศูนย์กลางธุรกิจไปรษณีย์รวมถึงบริการโลจิสติกส์ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย นำเสนอโซลูชันทางการเงิน “สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ” สินเชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์ สำหรับร้านค้า สมัครง่ายผ่านแอปพลิเคชัน [email protected] วงเงินอนุมัติสูงสุด 300,000 บาท ผ่อนดอกเบี้ยสบายเริ่มต้นเพียงหมื่นละ 3 บาทต่อวัน ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 36 เดือน สมัครง่าย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน และไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม เริ่ม 4 มกราคม 2565 ธนาคารมุ่งหวังว่า “สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมสภาพคล่อง และเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายและต่อยอดธุรกิจให้กับผู้ค้าออนไลน์ รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB DBANK) กล่าวว่า “ธนาคารพร้อมสนับสนุนและเคียงข้างผู้ประกอบการธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาบริการและโซลูชันทางการเงินที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ในทุกการทำธุรกิจ พร้อมเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ธนาคารได้จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ “ไปรษณีย์ไทย” ผู้ให้บริการส่งพัสดุและเป็นศูนย์กลางธุรกิจไปรษณีย์รวมถึงบริการโลจิสติกส์ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย นำเสนอ "สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ" สินเชื่อของธนาคารไทยพาณิชย์ สำหรับผู้ค้าออนไลน์ที่ใช้งานแอปพลิเคชัน [email protected] ของไปรษณีย์ไทยเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และมีรายการเดินบัญชีผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ต่อเนื่องในรอบ 3 เดือนล่าสุด สามารถขอ “สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ” เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในการทำธุรกิจ ด้วยวงเงินอนุมัติสูงสุด 300,000 บาท ผ่อนดอกเบี้ยสบาย ๆ เริ่มต้นเพียงหมื่นละ 3 บาทต่อวัน ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 36 เดือน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน ไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม โดยธนาคารมุ่งหวังว่า “สินเชื่อมณีทันใจ เพื่อธุรกิจ” จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเสริมสภาพคล่อง และเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายและต่อยอดธุรกิจให้กับผู้ค้าออนไลน์ พร้อมช่วยเพิ่มความได้เปรียบและติดสปีดในการแข่งขันทางธุรกิจ รองรับเทรนด์การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลที่นิยมซื้อสินค้าผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มมากยิ่งขึ้น”