ทางด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depaกล่าวว่า “ปัจจุบันผู้คนมีการใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา การเกษตร การทำธุรกิจ การบริการสุขภาพ การสร้างความปลอดภัย การเตรียมความพร้อม ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น depaจึงพยายามสร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งต่างๆที่จะช่วยตอบโจทย์ทั้งในด้านซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ผ่านการสื่อสารบนโลกเสมือนจริงกับทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการผลักดันสร้าง Thailand Digital Valley บนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี”
ผศ.ดร.ณัฐพลกล่าวเสริมว่า “ภายใน Thailand Digital Valley จะมีอาคาร TDV2 หรือ Digital Knowledge Exchange Center ซึ่งพื้นที่นี้ทาง AIS ได้เข้ามาพัฒนา5G Innovation Centerเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่ม Digital Tech เข้ามาทดสอบใช้บริการเครือข่าย AIS 5G อันจะนำไปสู่การต่อยอดการสร้างธุรกิจดิจิทัลหรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆในอนาคต”
รศ.ดร.วีริศ อัมระปาลผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)กล่าวถึงมุมมองในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมว่า “ปัจจุบันมีโครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคตเพื่อส่งเสริมเรื่อง automationเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบกิจการโรงงานต่าง ๆ ดังนั้นเทคโนโลยี 5G ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถช่วย ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมและช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของ กนอ. เอง ของนิคมต่าง ๆ ที่มีอยู่ อีกทั้งช่วยเรื่องของการผลิต ที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยไปสู่ระดับสากล”
รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากร และเทคโนโลยี ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กล่าวว่า “Industy 4.0 ที่เกิดขึ้นโดยมี 5G เป็นโครงสร้างพื้นฐานทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็น IoT, BigData and Cloud จนนำไปสู่การเป็น Smart Manufacturing ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการทำธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ และมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น”