ใช้ภาษาเรียบง่าย
เลือกใช้คําที่เข้าใจง่ายและประโยคที่สั้นกระชับได้ใจความประโยคที่ยาวเกินไปอาจทําให้เข้าใจยากหากคุณเขียนเป็นภาษาอังกฤษก็แนะนําให้ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ของตัวอักษรแรกเมื่อขึ้นต้นประโยคเท่านั้นหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดเพื่อช่วยอํานวยความสะดวกให้กับผู้ที่มีความบกพร่องด้านสมองหรือมีปัญหาในการอ่านตัวหนังสือ
การใช้แฮชแท็ก
สําหรับภาษาอังกฤษ ขึ้นต้นคําด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกครั้งสําหรับการเขียนแฮชแท็ก เช่น ใช้ #BestFriendForever แทน #bestfriendforever วิธีนี้เรียกว่า CamelCase หรือการเขียนติดกันโดยไม่เว้นวรรค โดยจะช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถอ่านแฮชแท็กได้แม่นยํามากขึ้น
สัญลักษณ์อีโมจิ
หลีกเลี่ยงการสร้างอีโมติคอนจากตัวอักษร เช่น ̄\_(ツ)_/ ̄เนื่องจากผู้ใช้งานหลายคนไม่สามารถอ่านหรือถอดความหมายได้ และยังยากต่อฟีเจอร์ช่วยอ่าน (screen reader) ในการอ่านคําให้ผู้พิการทางสายตา ควรใช้สัญลักษณ์อีโมจิหรือรูปเล็กๆ เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกหรือบอกกล่าวความคิดของคุณได้เช่น😃 🔥 💜โดยอีโมจิแต่ละรูปนั้น จะมีข้อความบรรยายที่ตรงกับรูปอีโมจินั้นๆ ในตัวฟีเจอร์ช่วยอ่านเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาอยู่แล้ว เช่นสัญลักษณ์👍🏽 จะมาพร้อมกับคำบรรยายว่า “ยกนิ้ว”
การใช้สี
ข้อความต่างๆ จะอ่านได้ยากขึ้นเมื่อปรากฏอยู่บนรูปภาพที่มีความซับซ้อน หากต้องวางเนื้อหาลงบนรูป แนะนําให้สร้างสีพื้นหลังที่มีค่าความแตกต่างของสี (คอนทราสต์) สูงเพื่อช่วยแยกตัวข้อความออกจากภาพพื้นหลัง
รูปภาพ
ใส่คําบรรยายสั้นๆ ประกอบรูปภาพบนโพสต์ของคุณ หรือที่เรียกว่า ข้อความอธิบายรูปภาพ (alt text)ซึ่งจะช่วยอ่านออกเสียงคําบรรยายของรูปภาพให้กับผู้ใช้งานที่บกพร่องทางการมองเห็น อธิบายรูปภาพด้วยคําที่สั้นกระชับ แต่เก็บใจความสําคัญได้ครบถ้วน เช่น “เดินเล่นในสวนกับน้องหมาตัวใหม่” คุณอาจเลือกเพิ่มคําบรรยายแต่ละรูปภาพที่คุณโพสต์ ยิ่งใช้ถ้อยคําง่ายเท่าไร ยิ่งดีเท่านั้น การใช้คำสั่ง atl + text กับรูปภาพที่โพสต์บน Facebook หรือ Instagram ทำได้โดยการปรับ (edit) รูปภาพขณะหรือหลังอัพโหลด ให้เลือกเมนู change/edit alt txt หรือคลิกที่เมนูสามจุดเมื่อโพสต์รูปภาพแล้วเพื่อเพิ่มคำบรรยาย
ภาพเคลื่อนไหวGIF
ภาพเคลื่อนไหวบางชนิดที่มีแสงจ้า มีการกระพริบหรือไฟสาดไปมา จะทําให้ยากต่อผู้ใช้งานที่มีความบกพร่องทางสมองหรือการเรียนรู้ ในการเข้าใจในสิ่งที่คุณจะสื่อ ยิ่งไปกว่านั้นภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้อาจทําให้บางคนเกิดอาการชักได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าว แนะนําให้ภาพเคลื่อนไหวของคุณขยับไปมาด้วยความเร็วน้อยกว่า 3 ครั้งต่อวินาที และเคลื่อนไหวไม่นานกว่า 5 วินาที
การใช้เสียงประกอบ
อย่าลืมใส่คําบรรยายข้อความประกอบไฟล์เสียงต่างๆ นอกจากจะช่วยอํานวยความสะดวกให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยินแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานที่รับชมวิดีโอในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน หรือในเวลาที่พวกเขาไม่ต้องการเปิดเสียงและไม่มีหูฟังอยู่กับตัว คําบรรยายที่ดีควรอธิบายการใช้เสียงประกอบต่างๆ และระบุว่าใครกําลังพูดอะไรอยู่
วิดีโอ
ควรใส่คําบรรยายให้กับวิดีโอเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะไม่สามารถเข้าถึงหรือเข้ามารับชมคอนเทนต์ของคุณได้เลย นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้คนทั่วไปสามารถเลือกรับชมวิดีโอได้แม้อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน หรือในกรณีที่ไม่มีหูฟังอยู่กับตัว
คําบรรยายทําได้ง่ายๆ เพียงแค่ใส่ข้อความอธิบายว่ากําลังพูดถึงอะไรอยู่ ควรใส่คําบรรยายเสียงประกอบต่างๆ ลงไปด้วยและระบุว่าใครกําลังพูดประโยคไหนอยู่