อีกกลุ่มหนึ่งอย่างสตาร์ทอัพ เนอเจอร์ฟู๊ด ที่นำข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มข้าวหอมมะลิเพชรทุ่งกุลาร้องไห้และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาอินทรีย์ตำบลหุนกลอง (ลุ่มน้ำเสียวน้อย) และข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ของกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านจันทร์หอมและวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านยะสุข ลงนามสัญญาซื้อขายเพื่อออกสู่ตลาดต่างประเทศ
สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานโครงการนี้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาชุมชน นั่นคือ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565” โดยมีโครงการสำคัญคือ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ ที่รู้จักกันดีคือ OTOP ที่มีการลงทะเบียนมากกว่า 100,000 กลุ่ม อยู่ทั่วทุกภูมิภาค ดังนั้น การ นำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงมีความสำคัญมาก ที่จะมาสร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าชุมชน ผนวกรวมกับรูปแบบการขายใหม่ๆ ที่สอดรับกับยุควิถีใหม่นี้ ให้เกิดกระจายสินค้าได้ทั้งในและต่างประเทศต่อไป จากโครงการนำร่องในปีนี้ เริ่มต้นด้วยกลุ่มสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จะอยู่ในส่วนกลุ่ม OTOP ด้านอาหาร ซึ่งสามารถนำแนว ทางนี้ไปต่อยอดและเชื่อมโยงในอีกหลากหลายกลุ่ม ที่จะไปช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ต่อไป