สายมู FAITH
คนกลุ่มนี้ใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และโชคลางมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จากผลสำรวจพบว่าคนไทยกว่า 52 ล้านคนเชื่อในโชคลางและนำมาใช้ในการตัดสินใจสิ่งต่างๆในชีวิต ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่นักการตลาดน่าจะเข้ามาทำการศึกษาถึงพฤติกรรมเพื่อนำไปเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาดกับคนกลุ่มนี้
ซึ่งหากมองเรื่องของช่องทางในการเปิดรับข้อมูลเรื่องโชคลาง ช่องทางโซเชียลมีเดียมาเป็นอันดับที่ 1 ผ่านช่องทาง ได้แก่ โซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ 73.8% บุคคลรอบข้าง เช่น พ่อแม่ พี่น้อง 59.6% ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ 29.7% หนังสือพิมพ์และนิตยสาร 20.1% และสื่อโทรทัศน์และวิทยุ 19.6% โดย โดย 5 อันดับความเชื่อโชคลางที่มีผลต่อคนไทยมากที่สุดคือ
1.พยากรณ์ โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี เช่นการใช้พระโคพยากรร์วันพืชมงคล และคอนเทนต์ดูดวง ติด 1 ใน 3 ของคอนเทนต์ยอดนิยมของ Line Today
2.พระเครื่องวัตถุมงคล อย่างกระแสของไอ้ไข่ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น นอกจากนี้สายการบินยังมีการเปิดเส้นทางตรงไปนครศรีธรรมราชโดยใช้ไอ้ไข่มาเป็นแคมเปญในการทำการตลาด
3.สีมงคล เห็นได้ว่าช่วงปีใหม่จะมีการทำคอนเทนต์เกี่ยวกับสีมงคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นสีเสื้อมงคล สีกระเป๋าสตางค์มงคล ซึ่งเป็นโอกาสให้ร้านค้านำเรื่องของสีไปเป็นโอกาสในการขาย
4.ตัวเลขมงคล เช่น เบอร์โทรศัพท์ ซึ่งทำให้ค่ายโทรศัพท์มือถือนำมาเป็นช่องทางในการทำการตลาด เพราะเบอร์โทรเป็นการสร้าง Value ทางความรู้สึกได้ด้วย
5.เรื่องเหนือธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดกระแสรายการต่างๆ เช่น คนอวดผี
วรพล รัตนพันธ์ ทีม ศรัทธา.online ผู้ชนะเลิศ LINE HACK 2020 มองว่า Pain point ของคนบนและไปแก้บนเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนอาจจะเป็นเรื่องของการงาน ชีวิต ความรัก จึงเริ่มหาที่พึ่งทางใจ ซึ่งคนกลุ่มนี้มีเป็นจำนวนมากขณะที่ความเชื่อดั้งเดิมยังอยู่แต่ไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนมาใช้ชิวิตบนโลกออนไลน์มากขึ้น จึงเป็นโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่อย่างแพลตฟอร์มรับแก้บน ด้วยไอเดียการแก้บนผ่าน LINE ปฏิวัติการแก้บนในยุคดิจิทัล ด้วยการนำ chatbot มาช่วยบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในการบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ณฐอร นพเคราะห์ หมอดูต๊อกแต๊ก A4 พูดถึงเรื่องของการตลาดกับความเชื่อไว้น่าสนใจว่า ส่วนใหญ่งานที่ทำอยู่เป็น Content Creator มากกว่า ทุกวันนี้ทำ Content Online เป็นหลักไม่ได้เน้นเปิดรับดูดวง ที่ผ่านมาช่วงก่อนโควิด-19 คนจะดูดวงในเรื่องของความรัก แต่เมื่อมีโควิด-19 คนจะปรึกษาเรื่องของการงาน การเงินมากกว่า
“ช่วงโควิด-19 เรารับปรึกษาดวงทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆทำให้เราสามารถดูดวงคนที่อยู่ทั่วโลกได้ ไม่ต้องมาพบหน้ากัน พฤติกรรมของผู้บริโภคทุกคนเสพสื่อผ่านมือถือ ทุกเช้าทุกคนจะตื่นมาแล้วเปิดมือถือเช็คว่าวันนี้ควรใส่เสื้อผ้าสีอะไรถึงจะดี ปัจจุบันเราจึงเห็นคอนเทนต์ดูดวงเพิ่มมากขึ้น แต่ภาพลักษณ์ของหมอดูจะอยู่บนเส้นบางๆระหว่างความเชื่อกับความงมงาย บางแบรนด์จึงไม่กล้าที่จะจับหมอดูมาเป็น KOL เนื่องจากห่วงภาพลักษณ์ของสินค้าที่อาจจะถูกมองไปในเรื่องของความงมงาย เราจึงมองตัวเองว่าเราเป็น Influencer ที่สามารถทำ Content เกี่ยวกับดวงได้ โดยเน้นทำคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับดวงมากกว่าเปิดรับดูดวงซึ่งนั่นทำให้มีแบรนด์สินค้าเข้ามา Engage กับเรา เพราะเราวางโพสิชั่นนิ่งไว้อย่างชัดเจนว่าเราจะสื่อสารอะไร ใช้ช่องทางไหนเข้าถึงกลุ่มทาร์เก็ต
คนส่วนใหญ่ที่ดูดวงจะถามเกี่ยวกับเรื่องของงาน เงิน สุขภาพ ความรัก การไหว้ขอพร การเลือกสีมงคล ซึ่งจากข้อมูลตรงนี้เราก็นำมาทำเป็นคอนเทนต์ที่เข้าใจง่ายและเข้ากับกลุ่มทาร์เก็ตที่ติดตามเรา”
ปัจจุบันทำให้ หมอดูต๊อกแต๊ก A4 มีแบรนด์เข้ามาร่วมงานด้วย เช่น Grab Food,Flitflop,Lazada เป็นต้น