แน่นอนว่าผู้ใช้ LINE 1 คนจะไม่ได้ใช้บริการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นการที่สามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ในหลายๆ รูปแบบจากการใช้งานในบริการต่างๆ จะยิ่งช่วยทำให้ Data มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น
ทำให้รู้ถึงพฤติกรรมของคนดูซีรีส์วาย ว่ามีพฤติกรรมการอ่านคอนเทนต์บน LINE TODAY อย่างไร มีการเลือกติดตาม LINE Official Account แบบไหน หรือมีการเลือกซื้อ LINE Stickers รูปแบบใด ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของการนำ Data ที่เรามีมา Synergy กัน เพื่อนำไปสู่การนำเสนอคอนเทนต์ที่โดนใจ และการเลือกวิธีโปรโมทว่าควรจะใช้ช่องทางไหนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด หรือมีส่วนไหนที่จะสามารถเติมเต็มประสบการณ์การรับชมคอนเทนต์บน LINE TV ให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด
“เราพบว่าผู้ชมมีความต้องการในการพูดคุยระหว่างการรับชม เราเลยนำข้อมูลตรงนี้มาพัฒนาจนเกิดเป็นการสร้างกลุ่ม Open Chat ขึ้นเพื่อสร้าง Virtual Community ของกลุ่มผู้ชม รวมถึงการจัดกิจกรรมรับชมแบบ Live เพื่อให้เกิดการ Engage และประสบการณ์ใหม่ในการรับชม เช่น ในตัวอย่างการทำแคมเปญ “อินจิ้นฟินเวอร์” ที่ประสบความสำเร็จมาก ซึ่งแคมเปญนี้เกิดขึ้นจากการนำ Data ของแต่ละบริการเข้ามาทำเป็นแคมเปญร่วมกัน ทั้ง LINE TV และ LINE Stickers ซึ่งจากความร่วมมือครั้งนั้นทำให้เกิดประสบการณ์การรับชมคอนเทนต์ที่สมบูรณ์มากขึ้น”
ตัวอย่างความสำเร็จที่ชัดเจนในช่วงที่ผ่านมานี้คือ ความสำเร็จของซีรีส์วาย ซึ่ง LINE TV ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกและปูพรมความสำเร็จให้กับตลาดซีรีส์วาย และได้ชื่อว่าเป็น Top of Mind ของซีรีส์วาย ในประเทศไทย ซึ่งหากย้อนไปตั้งแต่ช่วงแรกที่เริ่มมีซีรีส์วาย ในเมืองไทย หลายคนอาจจะคิดว่าผู้ชมคอนเทนต์ประเภทนี้น่าจะเป็นกลุ่มผู้ชายหรือกลุ่มที่มีความชอบเฉพาะ
แต่ในความจริงแล้วเมื่อดูจาก Data จะพบว่ากลุ่มผู้ชมหลักของซีรีส์วาย คือ กลุ่มผู้หญิง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มผู้หญิงที่มีอายุ 15 - 24 ปี และอายุ 24 - 35 ปี จาก Data นี้ทำให้ได้รู้ความจริงโดยไม่ต้องคาดเดาว่ากลุ่มผู้ชมคือใคร