คิดอย่างไรถ้า For All Well-being มาพร้อมต้นทุนที่สูงขึ้น? ทีมงานตั้งคำถาม
“ถ้าเป็นในแง่ของการเปรียบเทียบใช่ แต่คิดว่ามองในระยะยาวจะคุ้มค่ามากกว่าแน่นอน เพราะมีจุดที่เราเรียกว่า Breakeven Point อยู่ได้ไม่ยาก เราได้ Insight มาจากการพูดคุยกับ Gen Z เราถามเขาว่า ถ้าเกิดเราจะต้องซื้อของที่แพงขึ้นกว่าเดิมนิดนึง แต่ว่ามันเป็นของที่ทำให้เรารู้ได้ว่าไม่ทำร้ายธรรมชาติจะซื้อไหม เขาบอกซื้อ เหตุผลง่ายนิดเดียวว่า ยอมลงทุนวันนี้เยอะหน่อยกับการที่เราต้องเอาเงินไปแก้ไขปัญหาอนาคต ไม่ต้องเปรียบเทียบ ชัดเจนว่าการลงทุนวันนี้เพื่อป้องกันเป็นเม็ดเงินที่น้อยกว่าการแก้ไขปัญหาในอนาคตแน่นอน”
ถึงตรงนี้ทีมงานมีข้อสงสัยว่าการออกแบบที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ยังสามารถเติมเต็มคำว่า Sustainable Living เข้าไปในส่วนไหนได้อีก
กับคำถามนี้ ดร.การดี อธิบายว่า เรื่องของ Sustainable Living สามารถเติมเต็มได้ไม่มีสิ้นสุด และบริษัทก็ยังต้องมีการเติมเต็มต่อไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าความท้าทายของโลกที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนนั้นเกิดขึ้นเร็วมากอย่างมหาศาล
“เมื่อก่อนเรามองในแง่ของห้อง แง่ของตัวตึก ในเรื่องของอากาศสะอาด เรื่องของความปลอดภัย ตรงนี้กลายเป็น Basic เป็น Standard ของเราไปแล้ว เรากำลังอยากจะต่อยอดไปอีก เราจะอยากชวนเพื่อนในย่านนี้หรือว่าคนที่อยู่ในเมืองนี้มีความเข้าใจด้วยกันเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงให้มากยิ่งกว่าที่จะเป็นตัวตึกหรือคอนโดที่ Stand Alone แต่ว่าเรากำลังจะหมายถึงความเป็นอยู่ที่ดีของคนทั้งเมือง
การเปลี่ยนแปลงปัจจุบันเกิดขึ้นเร็วมาก การพัฒนาให้ได้ผลคิดว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ เราจึงมักจะพูดเสมอว่าเรื่อง Partner ในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เราจึงจะอยากจะแชร์ข้อมูลตรงนี้ให้กับคนอื่นที่จะร่วมมือร่วมเดินทางไปพร้อมๆ”
เมื่อถูกถามถึงว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่ประเทศไทยจะพัฒนาเป็น Blue Zone ดร.การดี อธิบายว่ากำลังศึกษาในเรื่องนี้อยู่ผ่านแนวคิดของคำว่า Happy and Resilience หรือสบายกาย สบายใจ ซึ่ง 2 คำนี้มีผลกับชีวิตยืนยาว และคุณภาพชีวิต
“ตอนนี้เรากำลังทำวิจัยเรื่องนี้อยู่ เช่น การวัด Happiness เราสามารถวัดยังไงที่เป็น Scientific ให้ได้ แต่ถามว่าเชื่อใน Blue Zone ไหม คิดว่าเราสร้างได้ บนพื้นฐานของความร่วมมือจากทุกฝ่าย”
ดร.การดี อธิบายเพิ่มเติมว่า การเข้ามารับผิดชอบในส่วนนี้ทำให้มองเห็นสิ่งที่เรียกว่า Pain Point มากมาย ตัวอย่าง เช่น ตอนทำ Workshop กับ Gen Z ที่ผ่านมา ชีวิต Gen Z ต้องการความสะดวกสบายแบบ Extreme Convenience นั่นคือชีวิตประจำวันที่ต้องการความสะดวก เพราะฉะนั้นเหมือนกับความสะดวกสบายจะเป็นพื้นฐานปกติ ไม่เหมือนคนรุ่นก่อนที่มองว่าความสะดวกสบายคือสิ่งที่หรูหรา