ต้องบอกว่าเบียร์ช้างเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ผ่านการรีแบรนด์มาแล้วหนึ่งครั้งและถือว่าประสบความสำเร็จในชื่อของช้างคลาสสิกที่ทำให้ช้างตีตื้นเข้าใกล้ผู้นำตลาดมาขึ้นเรื่อย ๆ เรียกได้ว่าตอนนี้ห่างกันแค่เลขหลักเดียวเท่านั้น สิ่งที่จะเข้ามากระตุ้นให้เข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นในการเป็นผู้นำตลาดคือการเข้าถึงผู้บริโภคได้หลายเซ็กเม้นต์
ปีที่แล้ว ช้าง ได้ออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ คือ ‘ช้าง โคลด์บรูว์’ เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี และยอดขายเป็นที่น่าพอใจมาก ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงปีนี้ เพราะตลาดแอลกอฮอล์เองก็มีผลกระทบจากโควิด-19 ที่ช่องทางการจำหน่ายหลักนั้นถูกปิดชั่วคราวเป็นส่วนใหญ่ส่งผลให้ตลาดติดลบ 11% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เบียร์ช้าง กลับเติบโตสวนตลาดขึ้นมาเป็นซิงเกิ้ลดิจิต เป็นผลมาจากผลิตภัณฑ์ตัวช้างคลาสสิกและช้าง โคลด์บรูว์
ช้างเห็นโอกาสจากช้างโคลด์บรูว์ ที่ใช้คอนเซ็ปต์ความละเมียดเข้ามาตีตลาดพรีเมียม ทำให้เกิดกลุ่มลูกค้าเซ็กเม้นต์ใหม่เข้ามาที่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกับที่ดื่มช้างคลาสสิก ทำให้มองว่าตลาดใหม่ก็มีประสิทธิภาพและไม่ได้กินส่วนแบ่งของตลาดของช้างคลาสสิก จึงทำให้ส่งช้างโคลด์บรูว์เข้ามาแข่งขันในตลาดพรีเมียมอย่างเต็มตัว
โดยเซ็กเม้นต์ใหม่ที่ว่าคือลูกค้าชื่นชอบเบียร์ที่ดื่มง่าย มีกลิ่นหอม และสัมผัสถึงความพิถีพิถันมากกว่า แต่ถึงช้างจะมองว่าตัว ช้างโคลด์บรูว์ เข้ามาจับตลาดบนหรือตลาดพรีเมียม แต่ราคาขายอยู่ที่ 58 บาทเท่านั้น กลยุทธ์ราคาเริ่มเข้ามาเล่นเกมอีกครั้ง ขอบอกไว้ว่าราคานี่อาจจะสูงกว่าช้างคลาสสิกก็จริง เพราะช้างเรียกว่ามันคือสินค้าระดับพรีเมียม ในราคาที่จับต้องได้ (Affordable Premium) ซึ่งความคุ้มค่าดังกล่าวไม่ใช่เพียงแต่เรื่องของราคาเท่านั้น แต่ว่าเป็นการผสานคุณค่าของแบรนด์ เข้ากับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถสร้างประสบการณ์ในการดื่มเบียร์ที่ดีให้กับผู้บริโภค จนลูกค้ายินดีจ่ายในราคาที่มากกว่า เกิดการขยายฐาน และสร้างกลุ่มลูกค้าที่มีความจงรักภักดีกับแบรนด์ (Loyalty Customer) ให้มีมากขึ้นอีกด้วย แต่ราคายังน้อยกว่าเบียร์เมนสตรีมเบอร์ 1 ในตลาด นั้นหมายความว่างานนี้ช้างหวังตีตลาดแย่งชิงส่วนแบ่งอย่างเต็มตัวแน่นอน