นอกจากเรื่องของการบริหารระบบหลังบ้านแล้ว ปัจจัยความสำเร็จอีกอย่างนั้น จะมาจากการเลือกโฟกัสการทำตลาดของตัวเองให้แตกต่างจากผู้เล่นค้าปลีกรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดที่ใกล้เคียงกันอย่างเซเว่น อีเลฟเว่น นั่นคือ แทนที่จะเป็นร้านคอนวีเนียนฟู้ด เหมือนเซเว่น อีเลฟเว่น หรือเชนคอนวีเนียน สโตร์รายใหญ่อื่นๆ อย่างแฟมิลี่มาร์ท ไม่เว้นแม้กระทั่งเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส โดยซีเจ เอ็กซ์เพรสเลือกวางตัวเองเป็นร้าน “ซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์” ที่ขายสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับมุ่งเน้นไปที่การเป็นร้านค้าปลีกของชุมชนที่เป็นเสมือน Community Hubการเป็นซูเปอร์คอนวีเนียนสโตร์ ของซีเจ เอ็กซ์เพรสนั้นจะเน้นขายสินค้าราคาถูก แต่ก็มีเรื่องของความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภค เพราะมีการขยายสาขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ทำให้สามารถเข้าไปรองรับความต้องการของลูกค้าในแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ฟอร์แมตของสาขา ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนอกจากสาขาในรูปแบบเดิมที่มีร้านขนาดเล็กอยู่ในชุมชนภายใต้ชื่อ ซีเจ เอ็กซ์เพรสแล้ว ยังมีสาขาขนาดที่มีพื้นที่มากขึ้นที่เรียกว่าซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต เน้นสินค้าอุปโภคบริโภค จุดเด่นคือการมีสินค้า ครบ คุ้ม ราคาประหยัดเทียบเท่ากับไฮเปอร์มาร์เก็ต แต่สะดวกสบายมากกว่าด้วยสาขาใกล้บ้าน โดยทั้งซีเจ เอ็กซ์เพรส และซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต จะมีสาขารวมกันประมาณ 530 สาขา ใน 27 จังหวัด และตั้งเป้าปีนี้ 580 สาขาใน 29 จังหวัดโดยสาขาใหม่ที่จะเปิดจากนี้ไปจะเน้นไปที่สาขาในรูปแบบของซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต
ล่าสุด ซีเจ เอ็กซ์เพรส ยังมีการพัฒนาฟอร์แมตใหม่ภายใต้ชื่อ “ซีเจ มอร์” (CJ MORE) ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของศูนย์การค้าขนาดเล็กในชุมชนที่จะมีการนำแบรนด์ร้านค้าปลีกในเครือที่ถูกต่อยอดมาจากการเป็นเคาน์เตอร์ในร้านซีเจ เอ็กซ์เพรสในช่วงแรกด้วยเหตุผลของการที่วางตัวเองเป็นร้านค้าปลีกของชุมชน ทำให้เรื่องของการจัดการด้านสินค้าของซีเจ เอ็กซ์เพรส ต้องมีการ Customize ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละชุมชน โดยแต่ละสาขาจะมีการนำเสนอสินค้าที่แตกต่างกันออกไปตามความต้องการของพื้นที่นั้นๆ แต่สิ่งที่จะคล้ายกันก็คือ การแยก Category ที่มีการหมุนเวียนหรือขายดีออกมาดิสเพลย์พร้อมสร้างเป็นเคาน์เตอร์ต่างหาก อย่างสินค้าในกลุ่มความงามที่มีความหลากหลายตั้งแต่แบรนด์ดังระดับโลกไปจนถึงแบรนด์ของเอสเอ็มอี หรือสินค้าประเภทไลฟ์สไตล์อื่นๆ ที่แมตช์กับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการดำเนินกลยุทธ์ในลักษณะดังกล่าวทำให้กลุ่มสินค้าที่แยกออกมานั้นถูกพัฒนาเป็นแบรนด์ร้านค้าปลีก และจะถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในร้านซีเจ มอร์ ไล่ตั้งแต่
ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกสินค้าอุปโภค บริโภค
นายน์ บิวตี้ (Nine Beauty)โซนเครื่องสำอาง และความงามมัลติแบรนด์ (Multi-brand) ในคอนเซ็ปต์ "สวยครบ พบทุกสิ่ง" เจาะกลุ่มคนที่ให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง ให้เพลิดเพลินกับการเลือกซื้อเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
บาว คาเฟ่ (Bao Café)ร้านกาแฟสดใกล้บ้าน ภายใต้แนวคิด “รสชาติถูกปาก ราคาถูกใจ” แฝงกลิ่นอายความเป็นกาแฟของคนไทย ในราคาที่เป็นมิตรกับลูกค้าทุกเพศทุกวัย และยังมีเมนูเครื่องดื่มอื่นๆ ที่หลากหลายในรสชาติสุดเข้มข้น เสิร์ฟพร้อมเมนูขนมปังปิ้งที่เน้นคุณภาพและบริการสุดประทับใจ
อูโนะ (UNO)โซนสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น เครื่องเขียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เน้นดีไซน์ทันสมัย ในคอนเซ็ปต์ Your Innovation เอาใจกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นและวัยทำงานที่มองหาของใช้ในชีวิตประจำวัน เอ-โฮม (A-Home) โซนสำหรับคนรักบ้านกับคอนเซ็ปต์ “เรื่องบ้าน เรื่องง่าย” ครบครันด้วยสินค้า D.I.Y. อุปกรณ์เครื่องมือช่าง อุปกรณ์ทำสวน อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ประปา อุปกรณ์ดูแลรถ อุปกรณ์ของใช้ในครัว ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก เจาะกลุ่มเจ้าของบ้านและวัยทำงาน
เอ-โฮม (A – Home) โซนสินค้าอุปกรณ์เครื่องมือช่าง อุปกรณ์ทำสวน อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ประปา อุปกรณ์ดูแลรถ ฯลฯ เจาะกลุ่มเจ้าของบ้านและวัยทำงาน
บาว วอช (Bao Wash)มุมบริการซัก-อบผ้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยร้านกาแฟบาวคาเฟ่ และ บาว วอช จะมีการนำโมเดลของแฟรนไชส์มาใช้เพื่อช่วยในการขยายสาขา
Flagship Storeใจกลางเมืองอย่าง “ย่านสีลม” ที่มีครบทั้ง 5 แบรนด์ค้าปลีก และเพิ่มโซน CJ MORE Food Hall (ซีเจ มอร์ ฟู้ดฮอลล์) รวมร้านอาหารดังระดับมิชลิน ไกด์