บันได 7 ขั้น
ปั้นดินให้เป็นดาว
ปัจจุบัน GMM Music มีศิลปินอยู่ในค่ายประมาณ 300 คน แต่ในความรู้สึกของคุณภาวิตและจากข้อมูล Big Data พบว่ามีศิลปินที่สามารถต่อยอดมาสู่ Artist Product ในเฟสแรกนั้น สามารถทำได้ไม่ถึง 10 แบรนด์เท่านั้น
เพราะฉะนั้น การที่ธุรกิจของ GMM Goods จะสามารถเติบโตและรันธุรกิจได้อย่างยั่งยืนนั้นจึงจำเป็นต้องพึ่งพา Ecosystem ของ GMM Grammy ทั้งหมดอยู่ดี
ในเชิงธุรกิจเรียกว่า GMM Grammy กำลังใช้กลยุทธ์แยกกันเดินรวมกันตี กล่าวคือ GMM Grammy จะทำหน้าที่สร้างศิลปินและเพิ่มจำนวนแฟนคลับของศิลปิน ส่วน GMM Goods รับช่วงต่อโดยทำหน้าที่คัดเลือกศิลปินมาสร้างแบรนด์สินค้าไปพร้อมๆ กับการขยายเน็ตเวิร์ค
มาที่กระบวนการสร้างศิลปินของ GMM Music
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน คุณภาวิตได้อธิบายแนวทางการสร้างศิลปินไว้เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. เริ่มต้นจากศูนย์ คือการ Recruit เข้ามาในสังกัด ซึ่งก็มีหลายวิธีตั้งแต่รับสมัคร, ผ่านแมวมอง, ผ่านการประกวดเวทีต่างๆ
2. จากนั้นถึงจะเข้ากระบวนการปั้นให้เป็นศิลปิน ด้วยการพัฒนาทักษะที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นทักษะการร้องเพลง, เต้น, สื่อสารกับคนดู รวมถึงการแก้ไข ปิดจุดอ่อนของศิลปินแต่ละคน
3. เมื่อพัฒนาศิลปินจนพร้อม ก็จะมาสู่ขั้นตอน Debut หรือการเปิดตัวศิลปิน ช่วงจังหวะนี้จะยังวนเวียนกับในขั้นตอนของการพัฒนาศิลปินไปอีกพักใหญ่
4. เมื่อเพลงที่เป็นซิงเกิ้ลเริ่มได้รับความนิยมก็จะเริ่มมีแฟนเพลงขึ้นมา ในช่วงเวลานี้รายได้ของศิลปินส่วนใหญ่ยังมาจากการลิขสิทธิ์เพลงหรือ Digital Music
5. ศิลปินจะมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อแฟนเพลงขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และพัฒนาไปสู่แฟนคลับ ใน Stage นี้ศิลปินจะเริ่มมีสินค้าคอลเลคชั่น ของสะสม หรือสินค้า Merchandise จำหน่าย รวมไปถึงรายได้จาก Showbiz, Sponsorship & Artist Management ก็จะเพิ่มสูงขึ้น
6. ศิลปินจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้จำเป็นต้องมีกลุ่มที่เรียกว่า Brand Advocate หรือสาวกคอยติดตามเป็นจำนวนมาก จนถึงขั้นที่สามารถทำ Solo Concert ที่มีคนดูระดับเกิน 10,000 คนได้
7. การได้จัด Solo Concert นี้จะว่าไปแล้วก็ถือเป็นจุดสูงสุดของอาชีพศิลปินนักร้อง เพราะมีศิลปินเพียงไม่กี่คน หรือไม่กี่วงที่จะสามารถจัด Solo Concert ระดับ 20-30 รอบอย่างเบิร์ด ธงไชย เพราะฉะนั้นทาง GMM Grammy จึงได้วางแนวทางการพัฒนาธุกิจให้ศิลปินไว้ 2 แนวทาง เพื่อต่อยอด Ecosystem ของอุตสาหกรรม และให้ธุรกิจเพลงติบโตแบบยั่งยืน คือ
7.1 การทำ Artist Product ที่มี 2 แนวทาง คือ Direct to Fan กับผ่านแพลตฟอร์มระบบขายตรง SLM ซึ่งศิลปินที่ทำได้จะต้องเข้าเงื่อนไข 3 ข้อดังกล่าว
7.2 การขายความเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ หรือพัฒนาไปเป็นทีมงานอยู่เบื้องหลัง อย่างเช่น อ๊อฟ Big Ass (พูนศักดิ์ จตุระบุล) ที่ตอนนี้ได้เข้ามาเป็นทีมงานสร้างศิลปินใหม่ในเครือ Genie Records หรือ ปณต Getsunova ที่ขยับมาเป็นทีมงาน Showbiz
“เป้าหมายของผมต้องสร้างธุรกิจเพลง และธุรกิจบันเทิงอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้นต้องสร้าง Ecosystem และ Infrastructure วันนี้เราเริ่มเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นแล้ว เพราะหลายสิ่งเริ่มบานออกมาเป็นแพลตฟอร์ม เริ่มบานมาให้เห็น GMM Goods เป็นตัวอย่างที่ดี
การสร้างศิลปิน แฟนคลับ เพลง คอนเสิร์ต จะถูกขับเคลื่อนจาก GMM Music แต่ GMM Music ทำขายตรงไม่ได้เลยต้องเปิดบริษัทใหม่มา แต่เราถือหุ้น 100% เพื่อทำธุรกิจขายตรงจริงๆ เรามีทีมของเรา เพราะมันคือเป้าหมายเดียวกัน ทางเพลงก็ต้องส่งเสริมศิลปินให้ดังขึ้นเรื่อยๆ ทาง GMM Goods ก็ทำหน้าที่พัฒนาช่องทางการขายและตัวแทนการขายที่มีประสิทธิภาพโดยตรง”