การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประกันชีวิต ยังสะท้อนภาพผ่านความเป็น Trendsetter ของอุตสาหกรรมประกันชีวิต เพราะหากมองย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว เอไอเอ เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของประเทศไทยที่ออกประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ AIA Unit Linked เนื่องจากมองเห็นเทรนด์ตลาดตั้งแต่ในยุคที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก กระทั่งกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
“เรามองเห็นลูกค้าบางเซ็กเม้นต์ที่พร้อมรับกับความเสี่ยงด้านการลงทุนเพื่อโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น เราจึงสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา จึงเป็นเหตุผลว่า ปัจจุบัน เอไอเอ มีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มประกันชีวิตควบการลงทุน หรือยูนิต ลิงค์ ที่ใหญ่ที่สุด และมีตัวแทนที่มี IC License กว่า 11,000 คน ที่สามารถนำเสนอกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ได้ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สำคัญ และได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ และผลตอบแทนของออมทรัพย์ค่อนข้างต่ำ ประกันชีวิตควบการลงทุนจึงได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น”
นอกจากนี้ แบบประกัน AIA Vitality หรือประกันสำหรับคนรักสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เอไอเอสร้างเทรนด์ให้เกิดขึ้นมานานกว่า 4 ปีแล้ว ซึ่งเป็นแบบประกันสุขภาพที่มีจุดเด่นในการเป็นโปรแกรมที่ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้าให้มีแนวทางการใช้ชีวิตที่ช่วยเสริมสร้างให้มีสุขภาพดีมากยิ่งขึ้น นอกจากจะเกิดผลประโยชน์ในระยะยาวแล้ว ยังมีส่วนลดค่าเบี้ยประกันกลับมาด้วย จึงเป็นแรงดึงดูดที่ทำให้ลูกค้าหันมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเอง และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Flagship Product ของ เอไอเอ ที่ช่วยสร้าง Perception ให้ผู้บริโภคนึกถึงเอไอเอเป็นลำดับแรก
เอไอเอ ยังคงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น แบบประกันสุขภาพเหมาจ่าย AIA Infinite Care “คุ้มครองสูง ครอบคลุมทั่วโลก ดูแลทุกระดับการรักษา” เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มครองสูงสุดถึง 120 ล้านบาท และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รวมความคุ้มครองหลายๆ อย่างเข้าไว้ด้วยกัน โดยตัวแบบประกันนอกจากจะมีความคุ้มครองสูงยังให้ความคุ้มครองทั่วโลก และเลือกรักษาที่ไหนก็ได้ ในขณะเดียวกันก็ Integrate ไปกับ AIA Vitality ด้วย ทำให้ลูกค้าได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันจำนวนมาก หากมีการดูแลสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น
ปัจจุบัน เอไอเอมีตัวแทนประกันชีวิตมากกว่า 50,000 คน ดังนั้นจึงต้องมีเรื่องของโปรแกรมการฝึกอบรมที่เข้มข้นตามเซ็กเม้นต์ของกลุ่มตัวแทน โดยเฉพาะกลุ่ม Flagship เช่น โปรแกรม AIA FA (AIA Financial Advisor) เพื่อผลักดันให้ตัวแทนมีบทบาทเสมือนเป็นพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในทุกๆ ช่วงเวลาของลูกค้า โดยการอบรมมีทั้งรูปแบบ Classroom Training และ e-Learning ที่ตัวแทนสามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา รวมถึง Training Requirement เพื่อจะต่อสัญญาตัวแทนในแต่ละปี เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความรู้ในวิชาชีพของตัวแทนยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด เอไอเอยังจัดทำโปรแกรมที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิต AIA Life Advisor (AIA LA) ที่มุ่งสร้างตัวแทนคุณภาพรุ่นใหม่ผ่านการทำโปรแกรมระยะสั้น 2 เดือน ที่สามารถเป็นได้ทั้งอาชีพเสริม และอาชีพหลัก โดยไม่จำเป็นต้องลาออกจากงานประจำ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนที่สูญเสียรายได้ หรือขาดความมั่นคงทางอาชีพจากผลกระทบของโควิด-19
จุดแข็งของเอไอเอ คือ การเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจมานานถึง 82 ปี แต่ก็อาจมีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงต้องหาจุดที่สร้างความสมดุลให้ได้ ซึ่งข้อดีประการแรกของการเป็นองค์กรที่อยู่มานาน คือการมีฐานลูกค้าที่ใหญ่ ผู้บริโภครู้จัก และให้การยอมรับ อีกทั้งช่วงเวลาที่ผ่านมายังช่วยให้เกิดการสั่งสมประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ รวมถึงมีการสร้างแบรนด์ และสร้างความน่าเชื่อถือมาโดยตลอด
“เราต้องไม่ยึดติดกับความสำเร็จที่ผ่านมา เพราะข้อเสียขององค์กรหลายแห่งที่อยู่มานานคือการยึดติดกับของเก่า แม้จะเป็นแบบแผนที่เคยทำ และประสบความสำเร็จมาก่อน แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ของการทำธุรกิจ และความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในอดีต ดังนั้นจะทำอย่างไรให้องค์กรที่มีเรื่องราวมีความเป็นมายาวนาน และยังมีความภูมิใจกับความสำเร็จในอดีต สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อรองรับกับสถานการณ์การทำธุรกิจในปัจจุบัน นั่นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่เอไอเอพยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง”
คุณเอกรัตน์ ยังมองว่า สิ่งที่ถือเป็นความท้าทายที่สุด และหากทำได้ดีจะทำให้เอไอเอยังคงรักษาความเป็นที่ 1 ไว้ได้ นั่นคือการรับมือกับสถานการณ์หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) เพราะสถานการณ์ในวิกฤตโควิด-19 ถือเป็นบทเรียนที่น่าสนใจ และทำให้ได้เห็นกันว่า ธุรกิจบางอย่างที่เคยคิดว่ามีความแข็งแรงปลอดภัยที่สุดแต่เมื่อเจอกับวิกฤตบางอย่างก็อาจเกิดการพลิกผันไปได้ จนอาจต้องมองหาโมเดลการทำธุรกิจใหม่ๆ แต่ในอุตสาหกรรมประกันชีวิตโชคดีที่เจอปัญหาเหล่านี้ไม่มากนัก แต่วิกฤตครั้งหน้าอาจจะมาในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับธุรกิจประกันชีวิตได้เช่นกัน
สิ่งสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้องค์กรและคนในองค์กรพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา วิกฤตครั้งหน้าอาจมาในรูปแบบของนวัตกรรมบางอย่างที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคต่อไปอีก จึงต้องมีการตระเตรียมสิ่งต่างๆ ให้เร็วขึ้นอีก เพราะความเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรจึงต้องมีความคล่องตัว มีความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ทัน และพร้อมรับกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
“บนรากฐานของความแข็งแกร่งที่เอไอเอได้สร้างมาตลอด 82 ปี หากเราสร้างสมดุลที่ดีได้ สามารถดึงข้อดีออก มาได้ทั้งการเป็นองค์กรที่มีเรื่องราวมีความเป็นมา มีคนให้ความเชื่อถือ มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีตัวแทนที่แข็งแรง มีฐานลูกค้าที่กว้าง ควบคู่ไปกับการเป็นองค์กรที่มีความฉับไว พร้อมที่จะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ และพร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองจากการเป็น Payor มาเป็น Partner ทำให้สามารถดูแลลูกค้าได้มากขึ้น ถ้าเราทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ เอไอเอจะกลายเป็นองค์กรที่แข็งแกร่งไปอีกนาน” คุณเอกรัตน์ กล่าว