ในรายงาน "เจาะเทรนด์โลก 2021 Reform this Moment” มีประเด็นเทรนด์น่าสนใจอย่างเรื่องของ “ผู้บริโภค” เราจึงถือโอกาสหยิบเอาเรื่องดังกล่าวมานำเสนอเพื่อให้แฟน BrandAge Online สามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
โดยในปีนี้มีกลุ่มพฤติกรรมน่าสนใจและต้องทำความเข้าใจใหญ่ๆ อยู่ 4 กลุ่ม ซึ่งนับว่าเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ทั่วโลก “คุณค่า” เหนือ “มูลค่า” และ “ความต้องการที่มากกว่า” สู่ “ความต้องการสิ่งที่ดีกว่า” คือสิ่งที่ผู้บริโภคแสวงหา
ส่วนผู้บริโภคทั้ง 4 กลุ่ม จะมีอะไรบ้างนั้นลองไปอ่านกันดูเลยครับ
THE COMPRESSIONALIST
หมดแรง หมดไฟ แต่ใจต้องการได้สิ่งที่ดีที่สุด
พฤติกรรมการใช้ชีวิตในสังคมที่เต็มไปด้วยความกดดัน ทั้งจากที่ทำงาน จากครอบครัว และจากการใช้ชีวิตประจำวัน อยู่ในภาวะของการหมดไฟ (Burnout) หรือซูเปอร์ซินโดรม (Superhuman Syndrome)
ทำงานที่ต้องมุ่งให้ผ่าน KPI ขององค์กร หรือการโพสต์โซเชียลเพื่อมุ่งหวังยอดไลค์ เหล่านี้คือพฤติกรรมที่ต้องพยายามจัดการและสร้างสมดุลให้ชีวิตเข้าที่เข้าทาง ภายใต้ความรู้สึกว่าตัวเองไม่เคยดีพอและต้องพบกับความล้มเหลวในชีวิต
Key Takeaways
-
แบรนด์ต้องมีวิธีคิดแบบ Less-is-More เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้
-
แบรนด์ต้องทำแบบ Make it easy ทำให้ง่ายเข้าไว้
-
ไม่ได้ใส่ใจเรื่องราคา แต่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์
THE MARKET MAKER
ไม่รอตลาดตอบโจทย์ ลงมือสร้างความต้องการขึ้นเอง
พฤติกรรมที่ไม่ง้อ หรือไม่รอให้บริษัท แบรนด์ มาจอบโจทย์ความต้องการ แต่จะสร้างความต้องการนั้นขึ้นมาด้วยตัวเอง
เมื่อตลาดไม่สามารถสร้างสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้อาจจะด้วยข้อจำกัดทางด้านราคา ด้วยความสามารถทางธุรกิจ หรือแม้แต่ความคุ้มค่าในการลงทุน ทำให้กลุ่มผู้บริโภคนี้จะเกิดขึ้น แต่จะเป็นในลักษณะของการตอบโจทย์ตลาดท้องถิ่น ตลาดขนาดเล็กตามศักยภาพ
Key Takeaways
-
แบรนด์ต้องใช้วิธีคิดแบบ “ห่วงโซ่การผลิตแบบย้อนกลับ” หรือ Re-commerce ที่เป็นการสร้างคุณค่าจากสิ่งของที่เคยซื้อไปแล้วให้กลับมามีประโยชน์
-
การตลาดแบบ Peer-to-Peer เป็นการสร้างพื้นที่ที่สาม (Third Space) ในการขายสินค้า
KINDNESS KEEPER
ผู้รักษาความเอื้ออารี ที่ทำหน้าที่รักษาสมดุล
การสร้างความเกลียดชังที่แพร่กระจายไปทั่วโลก สร้างผลกระทบเชิงจิตใจและนำไปสู่ปัญหาทางสัมคมมากมาย จึงทำให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคที่มีทัศนคติแบบ KINDNESS KEEPER คือกลุ่มที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ เพื่อถ่วงสมดุลความเกลียดชัง ทั้งวาทะกรรมของคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ คนรวย คนจน คนเมืองคนชนบท
Key Takeaways
-
การสื่อสารต้องมากกว่าการพูดแต่เป็นการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม
-
ประเด็นจากมวลชน (Mass-Mattering) กำลังมีน้ำหนักเหนือเหนือการตลาดมวลชน (Mass-Marketing)
-
แบรนด์ต้องมีการลงทุน ระยะยาวด้วยความรับผิดชอบ การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ทังการสร้างการมีส่วนร่วมที่โปร่งใส ด้านเงินทุนและทรัพยากร
-
หมดยุคของการทำ CSR แบบบริจาคเป็นครั้งคราว
CYBER CYNICS
เพราะเทคโนโลยี อาจไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง
ตั้งแต่สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทจนเสมือนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในชีวิตผู้คน แต่แต่ไม่กี่ปีมานี้ผู้คนจำนวนมากเริ่มเบือนหน้าหนีจากหน้าจอ พร้อมเพิ่มความใส่ใจด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลมากขึ้น
ในขณะที่อินเทอร์เน็ตสามารถทำให้เราเข้าถึงและทำได้ทุกสิ่ง (Internet of Everything) และกำลังเติบโตอย่างงดงาม ภาคธุรกิจค่อยๆ ก้าวไปไกลกว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียสู่อุปกรณ์ดิจิทัล ผู้บริโภคกลุ่ม Cyber Cynics ก็ คือกลุ่มคนที่ตระหนักถึงการใช้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้องนั่นเอง
Key Takeaways
-
ความโปร่งใส่ของระบบในการจัดการด้าน CRM
-
Economy of Trust หรือกฏของความไว้เนื้อเชื่อใจที่จะทำให้แบรนด์ สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้อย่างสนิทใจไว้เว้นแม้แต่กระบวนการทำงานหลังบ้าน
-
ให้ความสำคัญกับจริยธรรมด้านข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลที่โปร่งใส และทุกเรื่องต้องสามารถอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล
สามารถอ่าน เจาะเทรนด์โลก 2021: Reform this Moment ฉบับเต็มได้ที่นี่