ดร.ณรงค์ฤทธิ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “แม้ว่า อสค จะไม่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร แต่เราก็ต้องมีผลกำไรเพื่อมาช่วยดูแลอาชีพของเกษตร ความช่วยเหลือก็ยังต้องลงไป ในเรื่องของการค้าขาย การดูแลเรื่องปศุสัตว์ ก็ยังเป็นหน้าที่หลักของ อสค จะเห็นได้ว่า บทบาทหน้าที่ของเราที่ทำให้กับเกษตรกร คือการทำให้อาชีพให้พวกเขาได้เดินต่อไปแต่ในขณะเดียวกัน อสค เองก็มีภาระหน้าที่ในการต่อยอดอาชีพด้วยการนำวัตถุดิบที่ได้จากเกษตรกระบวนการแปรรูปและเข้าสู่วงจรของธุรกิจด้วยเช่นกัน”
เนื่องจาก อสค มีข้อได้จำกัดหลายๆ อย่างเช่น นโยบายการใช้น้ำนมโคสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง อสค ใช้น้ำนมดิบจากเกษตรกรภายในประเทศ ใช้จากเกษตรที่ อสค ได้ฝึกอบรมให้ความรู้ จนตั้งเป็นฟาร์มขึ้นมา ซึ่งต้นทุนน้ำนมดิบจะแพงกว่า เมื่อเทียบกับเกษตรกรต่างขาติ เพราะมีต้นทุนในการเลี้ยงต่างกัน อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตนมพร้อมดื่มได้เพียงพอ ยังต้องนำเข้านมผงจากต่างประเทศ ซึ่งต้นทุนยังไงก็ถูกกว่าน้ำนมดิบที่ขายในประเทศ
“อสค ทำธุรกิจแข่งกับภาคเอกชน ด้วยจุดเริ่มต้นที่ไม่เท่ากัน ด้วยข้อจำกัดอะไรหลายๆ อย่าง แสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถทำกำไรให้เทียบเท่ากับภาคเอกชน ในการใช้วัตดุดิบที่มีต้นทุนที่แตกต่างกัน บทบาททั้งสองด้าน ทั้งการส่งมอบองค์ความรู้และเข้าสู่การแข่งขัน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเราไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องธุรกิจแต่เราทำเพื่อสังคมและเกษตรกร”
ด้วยความที่ อสค มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ การดำเนินงาน การบริหารงานจึงมีลักษณะกึ่งๆ งานราชกาล นั่นบ่งบอกให้เห็นว่าการดำรงตนขององค์กร จะถูเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายรัฐ ไม่ใช่มาจากองค์กร จริงๆ ซึ่งบางครั้งถูกตีกรอบให้ อสค เดินผิดทาง ไปมุ่งสร้างผลกำไรโดยลืมที่จะหันมามองต้นน้ำว่า เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไร หาก อสค มุ่งไปที่การแข่งขันทางธรกิจ
“เราไม่สามารถตั้งเป้าได้ว่า อสค จะต้องมีกำไร เพราะในเเง่ของวัตถุประสงค์ทางธรกิจเราเสียเปรียบไม่ได้อยู่ในจุดที่เเข่งขันและสามารถสร้างผลกำไรได้ เราไม่ได้คิดว่าต้องเป็นเบอร์ 1 ของตลาด แต่สิ่งที่เราคิดคือ เราต้องเติบโตเพื่อรองรับน้ำนมดิบของเกษตรกร นั่นเป็นหัวใจสำคัญขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย”
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถสร้างสมดุลทั้งในเรื่องของนโยบาย และ เกษตรกร ถ้าเปรียบเทียบการบริหารก็เหมือนกับการขับรถที่เท้านึงต้องเหยีบเบรค ในขณะที่อีกเท้าก็ต้องเหยียบคันเร่งไปพร้อมๆ กัน