โดยมีแนวทางแบบองค์รวมเพื่อการหมุนเวียนทรัพยากร 3 ด้าน คือ
วัตถุดิบ เป้าหมาย คือการใช้วัตถุดิบที่ทดแทนได้จากพืชให้มากที่สุดในกล่องบรรจุภัณฑ์ รวมถึงกระดาษซึ่งเป็นส่วนประกอบมากกว่า 70% ของกล่อง และวัสดุจากพืชทดแทนโพลิเมอร์จากฟอสซิลที่นามาทาฝา และวัสดุเคลือบผิว
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ด้วยวิสัยทัศน์ของบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตในอุดมคติ คือกล่องเครื่องดื่มที่ใช้ทรัพยากรทดแทนได้ทั้งหมด และนำกลับมารีไซเคิลได้
การรวบรวมและรีไซเคิล เต็ดตร้า แพ้ค มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการจัดเก็บและการรีไซเคิลมาเป็นเวลาหลายปี มีการลงทุนไปแล้วกว่า 23 ล้านยูโร ในช่วงปี 2555 -2562 และสร้างพันธมิตรที่มีศักยภาพทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก
ส่งผลให้วันนี้มีจำนวนโรงงานรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มมากกว่า 170 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่เพียง 40 แห่ง ในปี 2543
สุภนัฐ กล่าวเสริมว่า เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของเต็ดตร้า แพ้ค คือ การเป็นผู้นำที่ดำเนินธุรกิจด้วยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบคาร์บอนต่ำ และส่งเสริมความยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่า นับตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบไปจนถึงการผลิตขั้นตอนสุดท้าย ครอบคลุมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปริมาณขยะ การปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ การรักษาทรัพยากรน้ำ และการส่งเสริมการรีไซเคิลและการหมุนเวียนทรัพยากร
“ปัจจุบัน บริษัทใช้พลังงานหมุนเวียนกว่า 69% ในการดำเนินงาน โดยในปีที่แล้ว มีการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มของเต็ดตรา แพ้ค มากกว่า 50,000 ล้านกล่อง และยังบรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 10 ล้านตัน ตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าในทศวรรษที่ผ่านมา จากการดำเนินงานเหล่านี้ทำให้เต็ดตรา แพ้ค สามารถสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติที่ 6, 7, 9, 12, 13 และ 15 ได้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับการดำเนินงานในประเทศไทย สอดคล้องกับแนวทางธุรกิจระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบคาร์บอนต่ำทั่วโลกของบริษัท โดยได้ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์จำนวน 3,076 แผง บนหลังคาโรงงานในจังหวัดระยอง ซึ่งสร้างพลังงานไฟฟ้าทดแทนได้ถึง 1,350 เมกะวัตต์ชั่วโมง ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าปีละ 850 ตัน และยังดำเนินโครงการ “หลังคาเขียวเพื่อมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก” มาตลอดระยะเวลา 10 ปี”