Top 5 เพจที่มีเอนเกจเม้นท์รวมสูงสุด ใน Facebook
ศศิ - ศศิวิไล โสภณวิมลสวัสดิ์ - เพจ ฉันกลัวที่แคบ กับความคิดเห็นในการทำคอนเท้นท์ที่สามารถสร้างเอนเกจกับคนดู
การทำคอนเท้นท์ของเพจตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก
ว่าในเรื่องความยาก ก็น่าจะเป็นที่ในปัจจุบันมีเพจท่องเที่ยว เพจไลฟ์สไตล์ที่ทำคอนเท้นท์ในลักษณะคล้ายๆ กันเป็นพันเป็นหมื่นเพจ ทำให้ทุกคนต้องคอยคิด คอยหาความแตกต่าง สร้างความชัดเจนให้กับคอนเท้นท์ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา
แต่ในความยากที่ว่ามา มันก็มีส่วนที่ง่ายสำหรับเรา ตรงที่คอนเท้นท์ของเพจ ‘ฉันกลัวที่แคบ’ ตั้งแต่วันแรกที่เปิดเพจมาจนถึงวันนี้ เราทำทุกอย่างที่เป็นตัวตนของเราเอง ชอบอะไร ชอบไปไหน อยากกินอะไร เราก็นำเสนอออกมาเป็นแบบนั้น ทำให้ไม่ต้องประดิษฐ์ไม่ต้องเฟค
ซึ่งก็มีความโชคดีตรงที่ มีคนชอบในแบบที่เราเป็น ชอบอะไรคล้ายๆ กับเราอยู่เยอะ เลยทำให้มีคนติดตามและทำให้ทุกการทำคอนเท้นท์เป็นเรื่องสนุกขึ้นมา
และถ้าถามว่า หลักการทำคอนเท้นท์ของเพจ คืออะไร ก็ตอบได้ง่ายๆ เลยว่า “ทำในสิ่งที่เราชอบ” แค่นั้นเอง
สำหรับคอนเท้นท์ที่มีสปอนเซอร์ เราพยายามบอกลูกค้าให้ขายของไปได้ตรงๆ เลย เพราะคนติดตามเค้ารู้อยู่แล้วแหละว่านี่คืออาชีพเรา ส่วนหน้าที่ของเราก็คือจะทำอย่างไรให้การขายของนั้นดูน่าสนใจ สร้างการรับรู้ เช่น จะเอาไปถ่ายกับสถานที่ไหน ถึงเหมาะกับสินค้านั้นๆ พยายามทำให้ตอบโจทย์ที่สุด ซึ่งจะดีสำหรับคอนเท้นท์เราและได้ประโยชน์กับสปอนเซอร์ด้วย
แต่จะมีหลักสำคัญๆ 2 ข้อ เวลาคุยกับลูกค้าก่อนทำงาน คือ
1. ลูกค้าต้องรู้จักตัวตนของเพจ ว่าจริงๆ แล้วไลฟ์สไตล์ของเราเป็นแบบไหน รู้ไหมว่าเราชอบธรรมชาติแต่เราไม่ใช่ขาลุย เราชอบทะเลแต่เราไม่ลงน้ำนะ555 ดังนั้นจะให้เราไปเดินป่า ดำน้ำ เราก็ไม่สามารถทำให้ได้ เพราะเรามีลูกเล็กที่เราเลี้ยงเอง และเดินทางไปไหนมาไหนด้วยตลอดเวลา แต่ก็โชคดีที่ 90% ของลูกค้าที่เลือกให้เราทำงานให้ จะค่อนข้างรู้จักตัวตนและไว้ใจในการนำเสนอของเราพอสมควร
2. งานที่รับมา ต้องเป็นงานที่เรามั่นใจว่าทำให้ลูกค้าแล้วจะออกมาดี ซึ่งเราจะถามลูกค้าก่อนทุกครั้งว่า กลุ่มเป้าหมายคือใคร สร้างการรับรู้ให้ใคร เพราะก็จะมีในบางกรณีที่ลูกค้าชอบเพจเราเป็นการส่วนตัว แต่สินค้าเค้าไม่ได้แมทช์กับกลุ่มลูกเพจเรา ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจตรงกันในจุดนี้ก่อน
ขั้นตอนและวิธีทำรีพอร์ต
คำจำกัดความ
เอนเกจเม้นท์ - บน Facebook วัดจากยอดไลก์ คอมเม้นท์ รีแอคชั่นและแชร์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาที่เก็บข้อมูล สำหรับ Instagram วัดจากไลก์และคอมเม้นท์ ในส่วนของ Youtube วัดจากไลก์และคอมเม้นท์เช่นกัน
เอนเกจเม้นท์เรท - บน Facebook และ Instagram คำนวณจากเอจเกจเม้นท์ที่เกิดขึ้นในแต่ละโพสต์หารด้วยจำนวนผู้ติดตาม สำหรับ Youtube คำนวณจากเอนเกจเม้นท์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวิดีโอหารด้วยยอดวิวของวิดีโอ
ยอดวิว - จำนวนวิวจริงที่แสดงให้เห็นในแต่ละวิดีโอ
ขั้นตอน
เริ่มต้นจากการจัดอันดับท็อป 550 โปรไฟล์ในดาต้าเบสของหมวดท่องเที่ยว โดยวัดจากยอดวิวและเอนเกจเม้นท์สูงสุดที่โพสต์หรืออัพโหลดในช่วงวันที่ 1 -31 สิงหาคม 2563 และคัดเอาท็อป 5 ที่ทำเพอร์ฟอร์แมนซ์สูงสุดของแต่ละแพลตฟอร์มมาจัดทำรีพอร์ตชิ้นนี้