4.ผู้นำจะกดดันให้ผู้ตามต้องหันไปเจาะ Niche Market เช่น ตลาดยาสีฟันที่คอลเกตครองความเป็นผู้นำ ทำให้หลายแบรนด์ต้องหันไปเล่นเรื่อง Benefit ที่เฉพาะเจาะจง
ส่วนในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คู่แข่งขันอย่างยำยำ จะหันไปสร้างจุดขายผ่าน ยำยำ จัมโบ้ ที่มีภาพของ ความคุ้มค่า คุ้มราคา ในปริมาณที่มากกว่า เช่นเดียวกับไวไว ที่ทำทั้งเรื่องของการออกรสชาติที่แตกต่าง และการแตกซับ แบรนด์ อย่างควิก ที่ขายในเรื่องของรสชาติที่จัดจ้าน เป็นต้น
5.ลูกค้ามักจะมี Brand Loyalty กับมาร์เก็ตลีดเดอร์มากกว่าแบรนด์อื่น
การรับบทเป็น Market Leader ทำให้มาม่าต้องคิดมีการใช้กระบวนยุทธ์ที่หลากหลาย และเหมาะสมกับสถาน การณ์การแข่งขันในแต่ละช่วง ซึ่งการเป็นแบรนด์ใหญ่การคล่องตัวมันอาจจะน้อยกว่าแบรนด์เล็กๆ แต่วิธีดำเนินการ ก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ ก็พยายามสร้าง Differentiation ให้กับตลาด นอกจากในตลาดที่มีขายกันอยู่เป็นมาม่าซอง และ มาม่าคัพ ก็พยายามจะขยาย Range ของ Product ออกไป เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ครบทุกกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม การเป็นเบอร์หนึ่งในตลาด มีแรงกดดันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจะ Maintain ยังไง จะทำยังไง ให้มันยั่งยืน มันคงต้องมีหลายๆ อย่างในมุมของสินค้าเดิมที่จะ Maintain และกลุ่มของสินค้าใหม่ที่ควรจะต้องออกมา อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบโจทย์ในทุกๆ ความต้องการ ที่สำคัญ ต้องสามารถเข้ามาช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ในฐานะ Market Leader อีกด้วย
การอัดแคมเปญโปรโมชั่นลดราคาตลอด 1 เดือนพฤษภาคมของมาม่าในครั้งนี้ น่าจะเป็นการเมคชัวร์ในเรื่องของ การเกนยอดขายล่วงหน้าให้กับมาม่าได้ไม่มากก็น้อย....