เพราะฉะนั้นผู้เล่นในอุตสาหกรรมบัตรเครดิตมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเรียนรู้และปรับตัวในเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้เร็วที่สุด สำหรับ KTC ประณยา บอกกับเราว่า มีความโชคดีอย่างหนึ่งที่เราพัฒนา เรื่องนี้มาสักพักจึงทำให้มีการใช้งานเต็มรูปแบบจากวิกฤตในครั้งนี้ ทั้ง QR Code Payment ซัมซุงเปย์ หรือบางร้านที่มีการ ขายดิลิเวอรี่ก็สามารถชำระผ่านลิงค์เปย์ได้
ภาพต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ KTC แพลนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ภาพนี้ถูกเร่งโดย Covid-19 ทำให้เกิด เร็วขึ้น ยอดการใช้จ่ายผ่านช่องทางเหล่านี้โตขึ้นกว่า 300% แม้ว่าจะมียอดไม่เท่ากับช่องทางปกติ แต่นี่อาจจะเป็นสัญญาณของ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคตก็เป็นได้
ประณยา เล่าถึงการทำงานร่วมกับร้านอาหารที่เป็นพาร์ทเนอร์ว่า ธุรกิจร้านอาหารเกือบ 100% ปรับตัวเข้าสู่ช่องทางการขายแบบ ดิลิเวอรี่ เรามองเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มร้านอาหารที่ขายผ่านแอพพลิเคชั่นอย่าง Grab LINE MAN Foodpanda ต่างๆ กลุ่ม 2 คือ กลุ่มร้านอาหารที่มีช่องทางดิลิเวอรี่ของตัวเอง เช่น เครือไมเนอร์ KFC MK กลุ่มสุดท้าย กลุ่มร้านอาหารขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ที่สู้ตายไม่ปลดพนักงาน ปรับเมนู เอาแรงงานมาเป็นพนักงานส่งอาหารเอง ทำให้ KTC ต้องเข้าไปตอบโจทย์การใช้จ่ายเงินใน แต่ละช่องทางให้ได้ และไม่ใช่แค่นั้นยังมีเรื่องของโปรโมชั่น คะแนนสะสม ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนร้านอาหาร และทำ ให้ลูกค้าได้รับสิทธิประโยชน์แบบไม่แตกต่างจากการใช้จ่ายแบบเดิม
“การวางแผนกลยุทธ์และการตลาดเรามองแบบวันต่อวัน นโยบายของภาครัฐต่อมาตรการป้องกันโรคระบาดมีความจำเป็นที่เรา ต้องปฎิบัติตาม การเว้นระยะห่างก็น่าจะเป็นโจทย์ใหญ่ของร้านอาหารที่จะต้องมาจัดสรรพื้นที่ รูปแบบการขายต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน วันนี้การทำงานต้องตอบโจทย์พันธมิตรว่าร้านค้าต้องการอะไร ดิลิเวอรี่ที่จะกลาย เป็น New Normal ในการซื้อการอาหารในอีกไม่ช้า เราก็ต้องเข้าใจและศึกษาพฤติกรรมลูกค้าให้มากขึ้น เพราะสุดท้ายแล้ว เราเชื่อว่าการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตน่าจะเพิ่มมากขึ้น วิกฤตนี้เป็นตัวเร่งทำให้รูปแบบการใช้จ่ายเงินเปลี่ยนไป เมื่อไหร่ก็ตามที่ ลูกค้าเปลี่ยนเราก็ต้องเปลี่ยน”
สุดท้ายแล้ว การมองไปข้างหน้า คือสิ่งที่ทุกคนจะต้องคิด รวมถึงใช้บทเรียนครั้งนี้มาสอนและเตือนใจให้เตรียมพร้อม รับมือยู่เสมอ