การใช้งานเทคโนโลยีในชีวิตจริงสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เนื้อหาที่เขียนโดยนักข่าวหรือนักเขียนบนสื่อที่เชื่อถือได้ บล็อกเกอร์ ผู้มีอิทธิพลทางความคิด หรือ Influencer และบุคคลภายนอกที่บอกเล่าประสบการณ์การใช้สินค้าหรือบริการด้านเทคโนโลยีอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมา แม้หลายคนจะทราบดีว่าการใช้ Influencer คือการถูกว่าจ้างจากบริษัทต่างๆ ให้สร้างเนื้อหาสนับสนุนสินค้า แต่คนทั่วไปก็ยังชอบเนื้อหาลักษณะดังกล่าวอยู่เพราะมีความเชื่อมั่นในตัว Influencer ว่าจะเลือกรับงานรีวิวเฉพาะแต่สินค้าที่ใช้งานได้ดีจริงๆ เท่านั้น นักการตลาดสาย B2B สามารถประยุกต์ใช้วิธีการนี้ในการสร้างเนื้อหาแบบกรณีศึกษาเพื่อดึงดูดความสนใจผ่านประสบการณ์ใช้งานจริงจากลูกค้าธุรกิจหรือบุคคลที่ 3 ที่น่าเชื่อถือได้
“ผลการศึกษาชี้ว่า ผู้บริโภคชาวไทยชอบฟังเรื่องราวการใช้งานจริงว่า เทคโนโลยีมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง” ไบรอัน เสริม “การสำรวจบอกเราว่า ผู้คนอยากได้ยินประสบการณ์จากผู้ใช้งานจริงและจากผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับยี่ห้อนั้นๆ โดยตรง ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงควรเน้นทำเนื้อหาเน้นกรณีศึกษา การรีวิว และการบอกเล่าเรื่องราวการใช้งานจริงในรูปแบบต่างๆ ผ่านบุคคลที่ 3 ที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดผลสูงสุด”
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส
กล่าวโดยสรุปคือผู้ตอบแบบสอบถามของ InsightAsia/Vero ร้อยละ 62 กล่าวว่ามีความรู้สึกโดยรวมในเชิงบวกต่อบริษัทด้านเทคโนโลยี ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5 มีความรู้สึกเชิงลบ
ความกังวลที่ผู้คนมีต่อบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่มีทั้งเรื่องทั่วไป เช่น ปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์ ข่าวปลอม และการถูกเทคโนโลยีแย่งงาน รวมไปถึง ร้อยละ 49 มีข้อกังวลด้านสังคมที่สำคัญ เช่น ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการเข้าสังคมของผู้คน ร้อยละ 48 กังวลถึงผลกระทบต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน และร้อยละ 42 กังวลถึงผล กระทบต่อสุขภาพ
ก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 83 เห็นว่า เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในเวลานี้เทคโนโลยีได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานไปแล้ว ผู้คนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติในด้านลบที่เคยมีในช่วงเวลาเช่นนี้ นอกจากนี้ ร้อยละ 81 ของผู้ตอบแบบสำรวจยังกล่าวว่าเทคโนโลยีสามารถสร้างความผ่อนคลาย และร้อยละ 71 กล่าวว่า ช่วยให้ลดความเครียดจากการทำงานได้
อนาคตบริษัทเทคโนโลยีจะยังคงเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์นี้อีกหลายด้าน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ รวมถึงการที่ผู้คนจะเริ่มหันมาทบทวนบทบาทของเทคโนโลยีและเล็งเห็นด้านดีที่มีต่อชีวิตประจำวัน
ในบางมุมของเทคโนโลยีที่ครั้งหนึ่งคนอาจมองว่าเป็นข้อเสีย เช่น ข้อจำกัดของการสื่อสารผ่านช่องทางดิจิทัลที่ไม่สามารถทดแทนการสื่อสารแบบซึ่งหน้าได้อย่างสมบูรณ์ ตอนนี้กลับกลายเป็นข้อดีที่จะช่วยให้เรายังคงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างปลอดภัย บริษัทเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม จะมีโอกาสมากกว่าที่จะผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้โดยไม่ได้รับความเสียหายมากนัก หรืออาจจะพลิกมาเป็นผู้เล่นรายสำคัญแทน
“เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเติมเต็มชีวิตและเชื่อมต่อหากันได้มากมาย ทั้งการใช้แอพพลิ เคชั่นเพื่อสั่งอาหาร ที่นิยมกันในหมู่คนรุ่นมิลเลนเนียล หรือใช้นัดหมายและจัดการประชุม โดยตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้นมา เราได้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นความจริงใหม่ของชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว” บาร์คา นารูลา ผู้จัดการฝ่ายวิจัยของ InsightAsia ประเทศไทย กล่าว
การสำรวจที่ทำขึ้นก่อนสถานการณ์โรคระบาดนี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้คนมีทัศนคติที่ดีต่อเทคโนโลยี แม้ว่าจะมีความกังวลในบางด้านอยู่บ้างก็ตาม หลังจากสถานการณ์นี้จบลง เราจะเห็นการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ในภาคธุรกิจเทคโนโลยี ผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง IoT ดังนั้นบริษัทควรมีการสื่อสารการตลาดให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาการบริการลูกค้าให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น เพื่อเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างมิติใหม่ของความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ได้