มาตรการที่ 3 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
เริ่มต้นเพียง 12% สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
• ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเหลือ 12% และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายการเวลาผ่อน ชำระนานสูงสุด 48 เดือน
• ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ จาก 28% เหลือ 22% และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3% ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2564
มาตรการดังกล่าว สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ไม่ สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ โดยลูกค้าต้องมีบัญชีสินเชื่อกับบริษัทก่อนเดือนมีนาคม 2563 ทั้งนี้ ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อฯ ให้คงเหลือเท่ากับยอดสินเชื่อคงค้างที่เข้าร่วมโครงการ
ลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอพพลิเคชั่น UCHOOSE ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563 นี้ โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป โดยหลังจากนี้จะมีการชี้แจงกับลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ หรือสามารถดูรายละเอียด ได้จากแอพพลิเคชั่น UCHOOSE
“เป็นความตั้งใจของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ที่ต้องการช่วยลูกค้าที่มีภาวะเงินตึงตัว และคิดว่าการพักชำระหนี้ น่าจะเป็นมาตรการที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการผ่อนชำระขั้นต่ำ และการพักชำระเงินต้น และ ดอกเบี้ยต้น ลูกค้าจะได้ทุกคน ส่วนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เป็นส่วนที่ลูกค้าต้องลงทะเบียนเอง เพราะลูกค้าบางคนก็ไม่ได้อยากได้สิทธิ์ตรงนี้ เพราะยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้
เฉพาะมาตรการที่ 3 เราคาดว่าจะสามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเรื่องของการพักชำระหนี้ได้กว่า 8 แสน - 1.2 ล้านราย หรือคิดเป็นมูลค่าสินเชื่อกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันฐานลูกค้าของกรุงศรี คอนซูมเมอร์มีประมาณ 6 ล้านราย (8 ล้านกว่าบัญชี) แบ่งเป็นกลุ่มบัตรเครดิตประมาณ 3.7 ล้านราย ที่เหลือเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล”
ฐากร ยังมองว่า การพักชำระหนี้ หรือที่เรียกว่า Skip Payment เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก ไม่เหมือนสินเชื่อ ที่เป็นลักษณะ Term Loan เช่น สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์ และยังมีปัญหาในเรื่องของการเตรียมความพร้อมของ กระแสเงินสดที่ต้องสำรองไว้กว่า 4 – 5 หมื่นล้านบาท สำหรับสถานการณ์ในช่วง 2 เดือน
“เพราะการพักชำระหนี้ก็เท่ากับว่าเราไม่ได้รับการชำระหนี้กลับคืนมาจากลูกค้า ในขณะเดียวกันที่ลูกค้ายัง สามารถใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าได้อยู่ ทำให้เราต้องมีเงินสดสำรองเพื่อไปจ่ายที่ลูกค้าไปรูดซื้อสินค้าไว้ ขณะเดียวกันเราก็ยังจำเป็นต้องจ่ายเงินเดือนพนักงาน รวมถึงการลงทุนปรับปรุงระบบการทำงานต่างๆ”
หากสถานการณ์โควิด-19 ยืดเยื้อ การทำ Skip Payment อาจทำได้เพียง 2 เดือน ในระหว่างนั้นจึงจำเป็นที่ต้อง เริ่มต้นในเรื่องของการให้ลูกค้าสมัครเข้าโครงการปรับลดดอกเบี้ย และเมื่อช่วงเวลาของการทำ Skip Payment จบลง ลูกค้าก็ยังสามารถกลับมาชำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง และชำระด้วยจำนวนงวดที่ยาวขึ้น ซึ่งภาระต่อเดือนที่ลูกค้า เคยจ่ายจะลดลงไปกว่า 70%
“การให้ความช่วยเหลือลูกค้าในทุกมาตรการรวมกัน อาจรายได้จะสูญหายไปกว่า 30-40% ของรายได้ตามปกติ แต่เราอยากมั่นใจว่า จะสามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างตรงจุดสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยง และได้รับผลกระทบ จากวิกฤตครั้งนี้อย่างแท้จริง” ฐากร กล่าว