ทั้งนี้ธนาคารจะพัฒนา Digital Platform ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น Digital Banking ผ่านแผนงานรองรับซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ นอกเหนือจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีต่างๆ การเข้าไปร่วมทุนกับพันธมิตร การพัฒนาบุคลากรก็เป็นเรื่องสำคัญ ธนาคารมีโครงการ เพื่อมุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นของบุคลากรให้มีความพร้อมต่อโลกทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาระบบงานและเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้บุคลากรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงได้ (Data Driven) นอกจากนี้ในลักษณะของการทำงานธนาคารก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากย่างขึ้นกว่าเดิม โดยส่งเสริมให้มีการประสานความร่วมมือของบุคลากรข้ามหน่วยงานให้มากยิ่งขึ้น (Agile Team) ซึ่งเบื้องต้นก็ได้รับความร่วมมือและตอบรับเป็นอย่างดี
เช่นเดียวกับด้านการสื่อสาร ที่ธนาคารจัดโครงสร้างให้มีหน่วยงานที่ดูแลงานด้านสื่อสารการตลาดดิจิทัลโดยเฉพาะ ทำหน้าที่ทั้งเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลภารกิจและผลิตภัณฑ์ของธนาคารผ่านช่องทางสื่อดิจิทัลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารแบบ หลายช่องทาง (Omni-Channel) อาทิ Application : MyMo, GSB Internet Banking, Application : GSB PAY, Website : www.gsb.or.th, Facebook, LINE, Instagram, Twitter, YouTube, Pinterest ในชื่อ GSB Society, Call Center : 1115, รวมถึงมีหน่วยงานด้านลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) เพื่อฟังเสียงลูกค้าและ Relationship Marketing
หากถามว่าอะไรคือ เคล็ดลับที่ทำให้ธนาคารออมสินซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐมีขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจดิจิทัลแบงกิ้งไม่แพ้ธนาคารพาณิชย์ คำตอบนั้นก็คือ การมีแนวคิดที่ก้าวไกลกว่าคู่แข่งเสมอ
“ผมคิดว่าเรามีการป้องกันความเสี่ยงของธนาคาร และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้นำสมัย เพื่อให้ธนาคารคงความเป็นผู้นำ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของธนาคาร สร้างรายได้มาทดแทน Banking Business แบบเดิม ตลอดจนสร้างคนรุ่นใหม่มาดูแล New Business Model”
แน่นอนว่าในอนาคตตำแหน่งแบรนด์ธนาคารที่มีความโดดเด่นด้านดิจิทัลของธนาคารออมสินจะชัดเจนไปอีกขั้นหนึ่งโดยเบื้องต้นเริ่มมีการลดงานหน้าเคาน์เตอร์ โดยเชิญชวนลูกค้าให้ใช้บริการผ่านเครื่อง Self Service, Mobile & Internet Banking มากขึ้น พร้อมร่วมกับบริษัทร่วมทุน (VC) พันธมิตร พัฒนาด้านดิจิทัลให้เป็น Ecosystem เพื่อตอบสนองความต้องการทุกช่วงชีวิตของลูกค้าผ่าน New Feature ของ Mobile Application พัฒนาศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (GSB Contact Center) โดยเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมทุกความคิดเห็น ข้อร้องเรียน และเสนอแนะของลูกค้าจากทุกรูปแบบช่องทางการสื่อสาร (Omni-Channel) และเป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูล ข่าวสาร ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารฯ ผ่านทุกช่องทางสำคัญ เพื่อยกระดับการให้บริการและตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ ยังจะนำเทคโนโลยี AI, Chatbot, Speech Recognition มาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น
พร้อมนับถอยหลังสู่การเป็น Fully Digital Bank ในอีก 2 ปีข้างหน้า