ทีนี้เราลองมาดูกันว่า “6Cs” ภายใต้แนวคิดนี้เชื่อมโยงและมีหลักการในการนำไปใช้อย่างไร
อย่างที่เราบอกว่าลองมองตลาดให้เป็นบ้านหลังนึง เป้าหมายสูงสุดของบ้านคือ “Country” แต่การที่ Country จะสมบูรณ์ได้นั้นก็ต้องเกิดจากเสาหลักของบ้านที่มีความแข็งแรง พร้อมที่จะพยุงสมาชิกภายในบ้านให้อยู่ร่วมกันได้
ถ้ามองตลาดคือบ้านของเราสิ่งสำคัญของบ้านคือแกนกลางอย่าง “Competency” หรือความสามารถหลักของเราคืออะไร เราทำอะไรได้ดี เราสามารถนำสินค้าและบริการของเราไปช่วยเหลือคนอื่นได้หรือไม่
ถ้าโดยปกติเราก็จะนึกถึง “Customer” หรือลูกค้าของเรา ที่จะทำอย่างไรให้สามารถขยายฐานลูกค้าได้ แต่เวลานี้ Customer ตัวเดียวไม่พอ ต้องนึกถึง "Community" ด้วย เพราะถ้าบ้านจะรอดไปได้ ไม่ใช่แค่ลูกค้าแต่สังคมก็ต้องรอดด้วย
เพราะฉะนั้นสาระสำคัญจึงอยู่ที่เสาหลักของบ้าน ที่จะต้องมีความแข็งแรง ไม่ผุกร่อน มิเช่นนั้นก็อาจจะทำให้บ้านหลังนี้ ถล่มลงได้ในทุกเมื่อ
“Communication” เสาหลักตัวแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในยามวิกฤตแบบนี้การสื่อสารต้องมีความชัดเจน ทั้งในแง่ของ ช่องทาง Message ที่จะใช้ในการสื่อสาร ใครจะเป็นคนพูดผู้สื่อสาร ถ้ามีคำถามใครจะเป็นผู้จัดการ
“เรื่องการสื่อสาร สามารถแตกย่อยไปได้อีกมาก เราสามารถจัดการ และสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องต่างๆ ได้ Message ต้อง เคลียร์และมีความชัดเจน บวกกับช่องทางที่สื่อออกไปต้องมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงพฤติกรรมของผู้รับสาร ในทุกรูปแบบ”
อย่างในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เสาต้นที่ชื่อว่า Communication มีความเสียหาย อย่างมาก การสื่อสารที่ไม่ชัด ไม่ระบุชัดเจนว่าใครเป็นคนสำคัญที่สามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ นั่นจึงส่งผลให้ผู้บริโภค เกิดความ Panic หรือวิตกกังวลกับปัญหาที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น Communication จึงเป็นรากฐานำคัญแรกที่ “ผู้นำ” ไม่ว่าจะเป็นระดับ ครอบครัว องค์กร หรือแม้แต่ประเทศ ชาติ ควรที่จะซ่อมบำรุง แก้ไข เพื่อให้บ้านหลังนี้อยู่รอดปลอดภัย
เสาหลักที่ 2 “Courtesy” แก่นสำคัญที่จะช่วยพยุงให้บ้านกลายเป็นบ้านที่สมบูรณ์ อย่างที่บอกว่า Courtesy เริ่มต้นที่สามัญ สำนึก มาสู่การเห็นอกเห็นใจของคนในบ้าน และสุดท้ายต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ลองตั้งคำถามกันว่าวันนี้แบรนด์ของคุณ มีสามัญสำนึกหรือไม่ เห็นอกเห็นใจกันหรือไม่ และสูงสุดของ Courtesy คือ ความ เอื้อเฟื้อ
“Collaboration” เป็นเสาหลักสุดท้าย เพราะวันนี้เราไม่สามารถทำเองคนเดียวได้ทุกอย่าง เราจะทำให้บ้านนี้แข็งแรง ต้องคิด แล้วว่า ใครจะเป็นพาร์ทเนอร์เราในยามนี้ได้บ้าง พันธมิตรทางการค้ามีใครบ้าง และไม่ใช่แค่พาร์เนอร์ทางธุรกิจเท่านั้น แต่เป็นพาร์ทเนอร์ของ “คน” ทั่วไป เพราะเราจะรอดบ้านเดียวไม่ได้ ยังมีบ้านอีกหลายหลังในหมู่บ้าน หมู่บ้านจะรอดได้ อย่างไร จังหวัดอื่นจะรอดได้อย่างไร ก็ต้องย้อนกลับไปดู Community และ Country ด้านบนว่าจะ Collaboration อย่างไร ให้รอดทั้งหมด
“ตอนนี้ Execution ของแบรนด์เห็นภาพการตลาดให้ได้ก่อน ว่าขณะนี้เรากำลังทำเพื่อบ้านของตัวเอง และบ้านก็ประกอบ ไปด้วยใครบ้างที่ไม่ใช่แค่ลูกค้าเรา หรือคู่แข่งเราเท่านั้น ยังมี Community ที่ต้องนึกถึง ฐานบ้านที่จะแข็งแรงได้ แกนกลาง ต้องมีคือ “Courtesy” ว่าคิดได้หรือไม่ จากนั้นก็มาดูที่ Communication และ Collaboration”
บ้านหลังนี้อาจจะเป็นบ้านในครอบครัวเรา บ้านในหมู่บ้าน บ้านในจังหวัด หรือบ้านของประเทศนี้ จะรอดบ้านเดียวก็ไม่มี ประโยชน์
เหมือนกับแบรนด์เรารอด แต่แบรนด์อื่นไม่รอด
แบรนด์เรารอด ลูกค้าเรารอด แต่ลูกค้าแบรนด์อื่นไม่รอด
แล้วท้ายที่สุดสภาพแวดล้อมมันก็กลับมากระทบเราอยู่ดี การตลาดตอนนี้ “Courtesy” จึงเป็น Key Word สำคัญ
“Courtesy เป็น Mindset สำคัญที่ต้องปรับ และมองตลาดให้เป็นบ้าน วันนี้ความสามารถของแบรนด์คืออะไร จะนำ ศักยภาพของมาใช้ในยามนี้ได้อย่างไรให้เกิดประโยชน์และทำให้บ้านหลังนี้ต่อ Customer ต่อ Community ต่อ Country ได้อย่างไร เมื่อวันที่บ้านเราแข็งแรง สถานการณ์ปกติ คนก็จะกลับมาเยี่ยมบ้านของเรา”
ลองนึกภาพว่าถ้าทุกคนมุ่ง Customer Centric ในเวลานี้ มุ่งแต่จะให้ลูกค้าตัวเองรอดในเวลานี้ จะทำให้แบรนด์รอดได้อย่างไร รับรองว่าไม่มีทางรอดอย่างแน่นอน เพราะสภาพแวดล้อมทางการตลาดทั้งหมดในวันนี้กำลังกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้เราต้องกลับมาคิดเรื่อง Courtesy กันอีกครั้ง
“เป้าหมายทางการตลาดเป็นเรื่องของการขาย การวาง ROI แต่ตอนนี้เราต้องเลิกคิด ROI ในเชิงของ Return on Investment เพราะตอนนี้เราต้องคิดทุกอย่างเพื่อ Invest ให้บ้านแข็งแรง สร้างบ้านที่ปลอดภัย ให้แบรนด์เปลี่ยนมาคิด ROI ในเชิงของ Return on Impact สิ่งที่แบรนด์ทำมีผลต่อการทำให้บ้านนี้แข็งแรงได้อย่างไร”