ภาวิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ จีเอ็มเอ็ม มิวสิคกำลังก้าวสู่บันไดขั้นที่ 2 คือ Build - Invest - Aggregate
“3 ปีที่ผ่านมา จีเอ็มเอ็ม มิวสิค อาจจะไม่ได้พูดถึงการสร้างศิลปินใหม่หรือการสร้างธุรกิจใหม่มากนัก เพราะการสร้างสิ่งใหม่ในวันที่ธุรกิจยังมีความไม่นิ่ง จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีผู้ถือหุ้น มีพนักงาน 600 คน และมีศิลปินกว่า 300 ชีวิต ที่ต้องดูแลให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์นี้ไปให้ได้ จนวันนี้เราสามารถผ่านพ้นมาได้อย่างสง่างามและพร้อมจะเดินเข้าสู่เส้นทางการสร้างใหม่เหมือนตลาดโลกที่มีการปรับตัว เติบโตดีขึ้นที่ 9.7% เช่นกัน”
เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ภาวิต อธิบายว่า บันไดขั้นที่ 2 นี้ จะถูกใช้เป็นแผนแม่บทที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม มิวสิคในอีก 5 ปีข้างหน้า (2020 - 2025) ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อน คือ
1. New Content Strategy & New Artist Development
จีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้อุตสาหกรรมเพลง มีความคึกคัก เจริญก้าวหน้าและสามารถมอบความสุขให้กับสังคม โดยนโยบาย 5 ปีต่อจากนี้ เราจะเน้นที่ 2 เรื่องหลักคือ
- New Content Strategy การสร้างศิลปินและแนวเพลงให้มีประสิทธิภาพทุกหมวดหมู่ ครอบคลุมทุก Segment การลงทุนทำ Full Album จะถูกนำกลับมาทำอย่างเต็มรูปแบบ ทุกแนวเพลงดนตรี โดยแบ่งเป็น Mega Album และ Digital Album ซึ่งการทำ Full Album ดังกล่าวบริษัทไม่ได้ยึดติดการทำแต่ศิลปินเฉพาะในจีเอ็มเอ็ม มิวสิค แต่หมายถึงความสามารถในการร่วมมือได้กับศิลปินทุกค่ายทั้งตลาดด้วย Business Model ที่เป็นธรรมและมีความยืดหยุ่นในการบริหารลิขสิทธิ์ นอกจาก Segment POP, Rock, ลูกทุ่ง และ Indie แล้ว เราจะเพิ่ม Sub Segment อย่างเช่น Original Sound Track ให้กับละครและภาพยนตร์ทั้งตลาด เปิด Segment Big Name, Teen Idol, Superstar และ Hip Hop
- New Artist Development การสร้างศิลปินใหม่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน จีเอ็มเอ็ม มิวสิคจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท เพื่อ Recruit Develop และออก Album ให้กับศิลปินรุ่นใหม่ ทั้งนี้ จีเอ็มเอ็ม มิวสิคจึงมีแผนการที่จะร่วมมือกับบริษัทพัฒนาศิลปินระดับโลกเพื่อยกระดับคุณภาพให้กับศิลปินรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความสามารถที่สามารถแสดงผลงานได้ในระดับสากล