5G Use Case
ความเป็นจริงทางไชน่า โมบายล์ เริ่มมีการวางระบบและทดสอบ 5G มาพักใหญ่แล้ว ก่อนที่จะมีการเปิดตัวการให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อไม่กี่วันมานี้
การวางระบบเครือข่าย 5G ของไชน่า โมบายล์ นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นติดตั้งสถานีฐานในเขตชุมชนที่หนาแน่น อาทิ แหล่งท่องเที่ยว, ศูนย์การค้า, โรงแรม, มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล, สนามบิน, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ฯลฯ โดยอาศัยข้อมูลที่ Big Data ที่เก็บมาตั้งแต่เป็นระบบ 4G โดยขณะนี้ทางไชน่า โมบายล์ เริ่มมีการขยายเน็ตเวิร์คไปแล้วประมาณ 40 เมือง ซึ่งแผนการขยายเน็ตเวิร์ค 5G ก็คงทยอยเผยแพร่ออกมาเรื่อยๆ
ในวันที่คณะสื่อมวลชนมีโอกาสได้ไปทดสอบสัญญาณที่สถานีรถไฟใต้ดินในย่านใจกลางเมือง ก็พบว่าความเร็วของการดาวน์โหลดเฉลี่ยแล้วสามารถทำได้ราวๆ 700 ไปจนถึง 1,000 Mbps ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับ 4G
แต่ประเด็นที่น่าสนใจมากกว่าเรื่องของความเร็วก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Use Case ที่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งในทริปนี้ผู้สื่อข่าวมีโอกาสได้เห็น Use Case ที่ถูกนำมาใช้จริงและ Case ที่กำลังพัฒนาอยู่ในห้องทดลองในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น
ในอุตสาหกรรมการเงินและธนาคารก็มีการนำเอาระบบ AI และ Big Data เข้ามาใช้เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการบริการลูกค้า
ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่เมืองจีนก็เริ่มมีการนำเอา 5G มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อความรวดเร็วและความปลอดภัย ด้วยการให้คนงานเหมืองแร่ขับรถผ่านเทคโนโลยีสื่อสารจากห้องคอนโทรลในส่วนกลางที่มีความหน่วงต่ำทำให้มีความแม่นยำสูง
ในอุตสาหกรรมการเกษตรก็เริ่มมีการเอาระบบโดรนกับ AI เข้ามาผสมผสานกันเพื่อทำการเกษตรโดยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของฟาร์มพืชที่ปลูกและฟาร์มปศุสัตว์ได้แม่นยำมากขึ้น
ในอุตสาหกรรม Content ก็สามารถเพิ่มลูกเล่นและรายละเอียดของ Content ในหลายประเภท เพื่อสร้างสีสันและความบันเทิงมากขึ้น
ในอุตสาหกรรมการแพทย์ก็มีการใช้ระบบ 5G มาประยุกต์ในการรักษาคนไข้ทั้งส่วนที่เป็นเคสทั่วไป เช่น ให้คำปรึกษา, การแนะนำ ไปจนถึงเคสใหญ่ เช่น การให้คำแนะนำระหว่างผ่าตัดเป็นต้น
ในงานสาธารณภัยปัจจุบันก็เริ่มมีการนำเอา 5G ไปประยุกต์ใช้ด้วยการติดตั้งกล้อง, อุปกรณ์สื่อสาร และ SIM เข้าไปในหมวกนิรภัย เพื่อที่ส่วนกลางสามารถเห็นภาพสดขณะออกปฏิบัติงานเพื่อที่จะให้คำแนะนำและวางแผนได้
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการนำเอา 5G เข้ามาประยุกต์ใช้ในแต่ละอุตสาหกรรมในประเทศจีนที่เริ่มเกิดขึ้นแล้ว