เริ่มจาก “ความแตกต่าง”
นำไปสู่การต่อยอดทางการตลาด
หากมองเข้ามาที่ภาพรวมของตลาดลูกอมในบ้านเราแล้ว พบว่า ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดอย่างมอนเดลีซ ต่างวางตำแหน่งแบรนด์ลูกอมในพอร์ตด้วยการใช้ Functional Benefit เข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยลูกอมฮอลล์จะมีจุดขายที่ถือเป็นจุดแข็งของลูกอมแบรนด์นี้คือเรื่องของการช่วยให้ชุ่มคอ เช่นเดียวกับคลอเร็ท ที่พูดถึงเรื่องของการสร้างลมหายใจสดชื่นมาตลอด
ขณะที่ลูกอมของค่ายแจ็ค แอนด์ จิลล์ ส่วนใหญ่จะจับกลุ่มเด็ก และวัยรุ่น ที่ส่วนหนึ่งจะมีฐานของลูกค้าอยู่ในต่างจังหวัด
การเข้าตลาดของ Playmore จึงมีจุดเริ่มต้นที่เรื่องของความแตกต่าง โดยวิธิดา วงศ์สุดาลักษณ์ Co-Founder and Managing Director บริษัท Evermore จำกัด เจ้าของแบรนด์ Playmore บอกกับเราว่า Playmoreไม่ได้แบ่งกลุ่มลูกค้าของเราตามอายุ แต่แบ่งตามพฤติกรรมและ Lifestyle โดยเน้น Insight ของผู้บริโภค เพราะPlaymore เชื่อว่า ความสนุกเป็น Need ของทุกเพศทุกวัย ทุกคนจะมีมุมสนุกๆ ซ่อนอยู่ แต่อาจบดบังไว้ด้วยฐานะ หน้าที่การงานหรืออื่นๆ
“ดังนั้นนอกจากความอร่อย ขนมของ Playmore จึงสะท้อนความสนุก จินตนาการ เป็นตัวแทนของคนที่มั่นใจ กล้าเป็นตัวของตัวเอง ทำให้สินค้าของเราเป็นของทุกคน ไม่ว่าเด็ก นักศึกษา วัยเริ่มต้นทำงาน นักธุรกิจ หรือไม่ว่าคุณจะเป็นสายแดนซ์ เด็กเนิร์ด ครีเอทีฟ เซลส์แมน หรือนักเดินทาง Lifestyle แบบไหนก็สามารถหยิบขึ้นมาได้”
ผลที่ตามมาคือเราเห็นกระแสต่อยอดความคิดสร้างสรรค์การกินขนมในโซเชียลเป็นไวรัลอยู่บ่อยๆ เช่น เพลย์มอร์ลูกอมรสแตงโมเพลย์มอร์กัมมี่รูปสัตว์หางยาว และเพลย์มอร์กัมมี่บล็อกทั้งหมดนี้ได้กลายเป็น Concept ของแบรนด์ที่ว่า “Playmore : Infinite Fun and Imagination” เพลย์มอร์ : ความสนุกผสานจินตนาการอันไร้ขอบเขต