สำหรับศูนย์ CICs ที่ประเทศสิงคโปร์ จะมีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย ตั้งแต่การเริ่มสร้างไอเดียกระทั่งไปจบที่เรื่องของโซลูชั่นต่างๆ ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ กระบวนการผลิต และตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึงการทำโปรแกรมที่เป็นกรณี ศึกษาในเรื่องของเทรนด์ต่างๆ ที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสทางการตลาด เช่น กรณีศึกษาในเรื่องของเทรนด์ Silver Gene ration ใน 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และประเทศไทย โดยเป็นการไปเก็บข้อมูลตามบ้านของผู้สูงวัย เพื่อเป็นการ ศึกษา และทำความเข้าใจเชิงลึกในพฤติกรรมของผู้สูงวัยในเรื่องความเป็นอยู่ และความต้องการ เป็นรูปแบบการจัดโปรแกรม และการทำเวิร์คช็อปที่จะมีการเชิญลูกค้าเข้ามาร่วมโครงการ
“ปีนี้จะมีการทำโปรแกรมในธีมของ Plant Base กลุ่มเครื่องดื่ม เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมจากถั่ว และธัญพืชต่างๆ ซึ่งเป็นกระแสที่เริ่มมาแรง เพราะในช่วงปีที่ผ่านมา มากกว่า 50% ของลูกค้าที่เข้ามาที่ศูนย์จะมาคุย หรือทดลองทำสูตรเครื่องดื่มเป็นที่ Plant Base เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่อาจเป็นกลุ่มคนรักสุขภาพ มังสวิรัต หรือต้อง การความเทรนดี้”
นอกจากนี้ ภายใต้การทำงานของ Marketing Services ยังได้รับการสนับสนุนจาก Product Development Center (PDCs) ที่จะทำหน้าที่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไอเดียที่มี เริ่มจากการคิดค้นสูตร ไปถึงการทำกระบวนการผลิต โดย เต็ดตรา แพ้ค มีเครือข่ายศูนย์ PDCs กระจายอยู่ 10 แห่งทั่วโลก แต่ละแห่งจะมีความชำนาญที่แตกต่างกัน เช่น สวีเดนถนัดเรื่องชีส และนม ส่วนที่สิงคโปร์จะถนัดเรื่องของ Plant Base เช่น นมถั่วเหลือง และมะพร้าว เป็นต้น
Connected Packaging
ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม มักจะเทรนด์ด้านอินโนเวชั่นต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเทรนด์ในเรื่องของ Digitalization & Technology และ Sustainability จะมีบทบาทสำคัญ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นที่มาของก่อตั้งศูนย์นวัตกรรม CICs ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลง และเฉพาะเจาะจงมากขึ้นของผู้สร้างแบรนด์ในตลาดเอเชีย
สุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจที่เป็น Business Solution ของเต็ดตรา แพ้ค ทั้ง 3 รูปแบบ คือ Processing, Packaging และ Services จะอยู่บนแกนหลักของเรื่อง Digitalization และ Sustainability โดยเฉพาะในเรื่องของ Packaging Solution ที่จะมีเรื่องของดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น หรือในแง่ของ Sustainability ก็เป็นเรื่องที่เต็ดตรา แพ้ค ให้ความสำคัญมานานแล้ว
“เพราะ 75% ของกล่องบรรจุภัณฑ์ คือ กระดาษที่มาจากป่าปลูกในกลุ่มทรัพยากรทดแทนได้ (Renewable Resource) อีก 25% เป็น PE ที่ประกอบด้วยลามิเนท และอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่่สามารถรีไซเคิลได้ 100% เพราะเป็น Bio Base และในอนาคตเรายังจะมุ่งไปที่เรื่องทรัพยากรทดแทนได้แบบ 100%”
ก่อนหน้านี้ เต็ดตรา แพ้ค ได้เปิดตัวแคมเปญ “Connecting The Food Industry” บนลิงค์อิน (LinkedIn) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มบรรจุภัณฑ์แบบเชื่อมต่อออนไลน์ และเปิดมุมมองในการนำระบบดิจิทัลรูปแบบใหม่มาใช้เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศ ร่วมกับออสเตรเลีย อินเดีย และอินโดนีเซีย ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นเป้าหมายการตลาดในการจัดแคมเปญของภูมิภาคนี้ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากความพร้อมของประเทศในด้านการนำธุรกิจเข้าสู่ระบบดิจิทัล