หากย้อนไปดูก่อนหน้านั้น จะพบว่า สปริงเคิล ทำตลาดน้ำดื่มในแพ็กเกจจิ้งแบบแกลลอนหรือถังที่ส่งตรงถึงบ้านหรือออฟฟิศของลูกค้า เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง ที่มีผู้เล่นรายใหญ่เข้ามาร่วมแชร์ตลาดไม่ว่าจะเป็นช้างสิงห์ และเนสท์เล่ เพียวไลฟ์ การตั้งรับอยู่นิ่งๆ ถือว่าไม่เป็นผลดีต่อการทำตลาดของรายเล็กอย่างสปริงเคิล จึงเลือกวิธีการรีแบรนด์ ใหม่ ซึ่งเดิมที สปริงเคิลนั้นเป็นน้ำถังระดับพรีเมียมรายเดียวในสายตาผู้บริโภค แต่ถ้าหากแบรนด์ใหญ่ทั้ง 3 รายเข้ามา จุดยืนนี้จะหมดไปทันที โจทย์ของการรีแบรนด์จึงต้องยกระดับให้สปริงเคิลเป็นมากกว่าความพรีเมียม
แนวคิดของกฤตวิทย์ จึงเลือกหยิบขวดน้ำดื่ม PET มาใช้เป็นเครื่องมือสร้างการรับรู้แบรนด์ว่า สปริงเคิล หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ และหวังให้เกิดการรับรู้ไปถึงน้ำถังด้วย ถือเป็นแนวทางยอดนิยมที่ “มวยรอง” หรือ Underdog นิยมทำกัน
แน่นอนว่า กลยุทธ์ดังกล่าวกลายเป็นจุดลงตัว และการดีไซน์ที่ Associate กับสตาร์วอร์สในครั้งนี้ เป็นอีก 1 บทพิสูจน์ให้เห็นถึงการเป็นแบรนด์น้ำดื่มบรรจุขวดที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์
ที่สำคัญ ยังทำให้ความคิดเดิมๆ ในเรื่องที่ว่า แพ็กเกจจิ้ง คือ Silent Salesman หมดไป เพราะแพ็กเกจจิ้งดีไซน์ของน้ำดื่มสปริงเคิล สามารถร้องเรียกลูกค้าด้วยความน่าสนใจในตัวของดีไซน์ได้เป็นอย่างดี.....
ขอบคุณภาพจากเพจ Sprinkle Drinking Water