องค์ประกอบต่อมาของ The Right Product จำเป็นต้องตอบสนองไลฟ์สไตล์ให้ทันในแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไป หรือนำการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรม (Lead Change) ซึ่งเราจะเห็นได้จากสมาร์ททีวีที่เปิดตัวสู่ตลาดมานานเกือบ 8 ปีแล้ว แต่เพิ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก Content Provider ในลักษณะ VDO on Demand เริ่มมีมากขึ้น
“เทคโนโลยีภาพและเสียงส่วนใหญ่จะมาก่อนคอนเทนต์ 2 ปี ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีตอบโจทย์ความต้องการในอนาคต อย่างสมาร์ททีวีก็เป็นฟีเจอร์ที่ผู้ผลิตปูทางไว้ให้กับผู้บริโภค และรอความพร้อมของคอนเทนต์ซึ่งในเคสของการผลิตทีวีนั้นผู้ผลิตจอกับผู้ผลิตคอนเทนต์จะทำงานด้วยกัน อย่างเทคโนโลยี 4K ของแอลจีออกตลาดมา 5 ปีแล้ว แต่คอนเทนต์ 4K เพิ่งออกสู่ตลาดหนาตาเมื่อปีที่ผ่านมา”
แอลจียังเป็นผู้นำในตลาด Smart Home Appliance ด้วยเทคโนโลยี IoT โดยเป็นแบรนด์ที่มี Connected Appliance กว่า 40 รุ่น มากที่สุดในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำตลาดในไทยปัจจุบัน ทั้งทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปรับอากาศ และเครื่องฟอกอากาศ ทั้งนี้แอลจีได้ออกแอพพลิเคชั่นสมาร์ท ธิงคิว (Smart ThinQ) รองรับการเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในกลุ่ม Smart ThinQ เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่สามารถสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟนได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของบ้านและนอกบ้าน นอกจากเพิ่มความสะดวกที่มากขึ้นแล้วยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนยุคไป
สุดท้ายเป็นเรื่องของการตอบสนองไลฟ์สไตล์เฉพาะกลุ่ม ซึ่งแอลจีก็มีสินค้าเพื่อมาตอบโจทย์ในเซ็กเม้นต์นี้โดยเฉพาะ เช่น ตู้เย็น InstaView และเครื่องปรับอากาศ LG DUALCOOL with Air Purifying System แอร์ฟอกอากาศเต็มรูปแบบด้วยเซ็นเซอร์อัจฉริยะ PM.1.0 เจาะกลุ่ม คนที่ห่วงใยสุขภาพ เป็นต้น
สำหรับกระบวนการทำงานให้ได้มาซึ่งสินค้านวัตกรรมของแอลจีนั้น จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกวางแผนสินค้า ซึ่งจะมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เกาหลี และแผนกออกแบบ โดยมีสำนักงานดีไซน์ทั้งหมด 5 แห่งทั่วโลกแบ่งเป็น 1 แห่งต่อทวีป ได้แก่ อินเดีย อเมริกา อังกฤษ จีน และญี่ปุ่น โดยทั้ง 5 แห่งจะร่วมกันทำงานตั้งแต่สำรวจการใช้งานลูกค้าแอลจีในปัจจุบันเพื่อหา Pain Point แล้วรวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกไปวิเคราะห์ และวางแผน อีกทางหนึ่งได้มีการให้ลูกค้าเข้าไปอยู่ในบ้านจำลองเพื่อมอนิเตอร์พฤติกรรมและ Pain Point ต่างๆ ที่ผู้บริโภคยังไม่รู้ตัว เมื่อได้ข้อมูลทั้ง 2 ทางนี้แล้วจะนำมาวิเคราะห์ว่าสินค้าใหม่นั้นๆ จะต้องใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง จากนั้นจึงผลิตสินค้า Pre Test มาให้ผู้บริโภคทดลองใช้ แล้วนำปัญหากลับไปพัฒนาอีกครั้งหนึ่งออกมาเป็น Final Product ซึ่งกระบวนการเหล่านี้กินเวลาประมาณ 2 ปี แต่สำหรับทีวีจะใช้เวลาสั้นกว่านี้ เพราะเทคโนโลยีภาพและเสียงจะพัฒนาไปเร็วกว่า แต่ Flow การทำงานโดยรวมจะคล้ายคลึงกัน และจะมีผู้ผลิตคอนเทนต์เป็น Third Party ที่เพิ่มเข้ามา
“เทรนด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอนาคต แอลจีมองว่าจะเป็นไปในทิศทางเทคโนโลยี Connectivity ดังนั้นต่อไปเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องมีเทคโนโลยี AI ติดมาพร้อมการสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งแอลจีเริ่มนำทีวี AI เข้ามาเมื่อปีที่แล้ว และกลางปีนี้จะสามารถสั่งงานด้วยเสียงภาษาไทย ในปีต่อไปๆ จะเป็นเครื่องซักผ้า ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศที่มีเทคโนโลยี AI เมื่อเครื่องไฟฟ้าทุกชนิดเชื่อมต่อถึงกันได้หมดก็จะทำให้ภาพของสมาร์ทโฮมชัดเจนมากขึ้น ซึ่งแนวทางการพัฒนาสินค้าของแอลจีก็จะมาทาง AI เพราะต้องการเป็นผู้นำเทคโนโลยี AI ในอนาคต จากเดิมที่ตอนนี้เราเป็น IoT Provider ซึ่งปีนี้ถึงปีหน้าสินค้า AI ของแอลจีจะเริ่มทยอยเข้ามา เริ่มจากกลุ่มพรีเมียมก่อน และจะถูกฝังเข้าไปในแมสโปรดักต์อีก 2-3 ปีข้างหน้า”
แนวทางดังกล่าวไม่เพียงแต่จะเพิ่มอัตราการเติบโตยอดขายในอนาคต แต่ยังเสริมสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่แอลจีสื่อสารในเรื่อง Innovation for a Better Life ให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น