ขณะที่สังคม และผู้บริโภคจะคาดหวังกับองค์กร หรือสินค้า – บริการที่มีแนวคิด “เก่ง” บวก “ดี” มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีอุดมคติของตัวเอง โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้จะรักแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ และทุกวันนี้บริบทภายนอก หรือ External Environment เช่น กระแสสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ภัยธรรมชาติ การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น สังคมออนไลน์ ที่มีการรณรงค์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากมาย ล้วนเป็นปัจจัยที่กดดันองค์กรธุรกิจ ให้ต้องทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อโลกมากขึ้น
เพราะฉะนั้นธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการ โดยมุ่งเอากำไรอย่างเดียว จะเป็นองค์กร หรือแบรนด์สินค้าและบริการที่ผู้บริโภคไม่มี Loyalty ให้ โดยอาจอยู่ได้ด้วยกลยุทธ์ราคาอย่างเดียว ส่งผลให้ธุรกิจไม่มีความยั่งยืน และผู้บริโภคไม่ให้คุณค่าต่อแบรนด์
โดยปกติการสร้าง Reputation จะครอบคลุมในทุกระดับขององค์กร โดยมีเป้าหมายและการใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันออกไป ไล่ตั้งแต่ตัว Corporate ที่จำเป็นจะต้องมี Reputation เพื่อทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีที่จะมีผลต่อราคาหุ้นหรือความน่าเชื่อในการระดมทุนหรือการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ
ส่วนในระดับ Business จะเป็นเรื่องของความมีชื่อเสียงของตัวผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอสู่ตลาด ซึ่งจะทำออกมาผ่านเครื่องมือในเรื่องของ Innovation และเครื่องมือด้านซีเอสอาร์ที่จะเข้ามาช่วยสร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงในฐานะของการเป็นคนดีของสังคม
ส่วนระดับสุดท้ายจะอยู่ในระดับ Operation ที่ภาพของ Reputation จะเข้ามามีผลต่อในเรื่องของ Employee ที่จะสามารถดึงดูดคนเก่งๆ ให้สนใจเข้ามาทำงานในองค์กรได้
ไม่ว่าแบรนด์ใหญ่ หรือแบรนด์เล็ก สามารถมี Good Reputation ได้ แต่ความดัง หรือการรู้จักอาจไม่เท่ากัน และหากวันใดเกิดความผิดพลาด หรือถูกทำลายโดยสภาวะข้างนอก การมี Good Reputation จะเป็นภูมิคุ้มกันได้ เพราะลูกค้าจะให้โอกาสคุณ แต่ถ้าความผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง Reputation ก็เสียหายได้เหมือนกัน
Good Reputation จึงเท่ากับ Trust นั่นเอง......