และตอนนี้ LinkedIn ก็ได้เปิดใช้งานฟีเจอร์นี้อย่างเป็นทางการแล้ว หน้าตาจะดูต่างจากตอนที่เราแอบเห็นในช่วงทดสอบเล็กน้อย แต่ก็ดูเหมือนกับ Facebook ที่เราต่างก็คุ้นชิน
LinkedIn กล่าวว่า “สิ่งที่เราได้รับฟังมาตลอดคือ พวกคุณทุกคนเรียกร้องที่จะมีอะไรที่มากกว่าปุ่มกดไลค์ เพื่อแสดงออกซึ่งความรู้สึกของคุณต่อโพสท์ของเพื่อนในเครือข่าย เช่นกัน ตอนที่คุณโพสท์คอนเทนต์ออกไป คุณเองก็อยากจะรู้บ้างว่า คนอื่นๆรู้สึกต่อคอนเทนต์ของคุณอย่างไรบ้าง มากกว่าการแค่มากดไลค์เท่านั้น ดังนั้น วันนี้ เราจึงทำในสิ่งที่คุณทุกคนอยากได้มานาน เพิ่มช่องทางและวิธีการให้คุณได้แสดงออกถึงสิ่งที่รู้สึกต่อเพื่อนของคุณ”
จากสิ่งที่ LinkedIn ได้ทำ คุณจะเห็นว่า แม้แต่ชื่อมันยังเหมือน Facebook คือ “Reaction” ดังนั้น การหยิบยืมไอเดียของฟีเจอร์ที่เป็นที่นิยมนั้นคงเป็นเรื่องปกติของโลกโซเชียลมีเดียทุกวันนี้ ตราบใดที่ Facebook ยังหยิบยืม Stories จาก Snapchat ได้ นี่ก็คงจะเป็นเรื่องปกติกระมัง
สิ่งที่เราเพิ่งจะเขียนไปด้านบนไม่ใช่ประเด็นที่ใหญ่โตมากมาย แต่แค่น่าสังเกตมากกว่า Facebook เองยังไม่ได้เห็นจะตั้งชื่อใหม่ให้ Stories และไม่ได้พยายามจะให้คำนิยามที่ต่างออกจาก Snapchat ดังนั้น การหยิบยืมฟีเจอร์โดนๆมานั้น เราคงจะเห็นได้กันต่อไปในอนาคต เหมือนดังที่ LinkedIn เพิ่งจะหยิบยืม Reaction จาก Facebook มานั่นเอง
สำหรับ Reaction บน LinkedIn นั้น เราวกมากล่าวถึงกันสักหน่อย สำหรับปุ่มทุกปุ่มนั้น ก็จะเป็นดังเช่น 5 Reactions ด้านล่าง