ไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ให้ความเห็นว่า จากปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้บริษัทก้าวเข้าสู่ธุรกิจในรูปแบบ Digital Driven Logistics ด้วยการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลที่นำสมัยมาใช้ในกระบวนการให้บริการตลอดทั้ง Supply Chain อาทิ Object Recognition, Robotic Process Automation (RPA), Chatbot เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพตลอดกระบวนการทำงาน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย อีกทั้ง ยังช่วยบริหารต้นทุนให้มีอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับการให้บริการลูกค้าทั้งภายในและภายนอกเอสซีจี ทั้งในประเทศไทย อาเซียน และ จีน
B2B – ลูกค้าสะดวกเพิ่มขึ้น ศักยภาพสูงขึ้น ต้นทุนถูกลง
กรรมการผู้จัดการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการบริการลอจิสติกส์ที่ เอสซีจี โลจิสติกส์ นำมาใช้เพื่อขยายตลาดทั้ง B2B และ B2C โดยตลาด B2B เน้นการใช้ในการเพิ่มศักยภาพ ซึ่งต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย เทคโนโลยีระบบทำงานอัตโนมัติ Robotic Process Automation (RPA) หรือระบบการจัดการข้อมูลภายในคลังสินค้าที่ช่วยบันทึกข้อมูลเอกสารต่างๆ เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง ตลอด 24 ชั่วโมง
เทคโนโลยี Object Recognition หรือระบบตรวจจับและวิเคราะห์วัตถุ โดยระบบสามารถตรวจจับตัวเลขข้างรถเพื่อบันทึก และตรวจสอบความถูกต้องของรถขนส่ง เทคโนโลยี Route Optimization หรือระบบการจัดการเส้นทางการจัดส่ง เพื่อช่วยคำนวณเส้นทางที่รวดเร็ว และสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์
ระบบหุ่นยนต์โต้ตอบสนทนาอัตโนมัติ (Chatbot) ที่สามารถโต้ตอบผ่านทางสมาร์ทโฟน เพื่อความสะดวก และสร้างความมั่นใจในการจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง ตรงตามเวลาที่กำหนด