ในการทำงานของ IBM โดยตั้งคำถามกันภายในว่า เวลาถูก Disrupt จะมีการแก้เกมยังไง คนทำธุรกิจอยู่แล้วกับตลาดใหม่อะไรที่น่ากลัวกว่ากัน มีอะไรบ้างที่น่ากลัวในองค์กร ซึ่งได้สรุปออกมาได้ 3 ประเด็น คือ Market Factor Teachnology และ ทักษะของคนในองค์กร
พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป แล้วธุรกิจจะต้องมีการปรับตัวอย่างไรบ้าง ซึ่งคุณปัทมาได้แยกการปรับตัวในสถานการณ์ของ Digital Disruption ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก Dancing with Disruption ที่เน้นเปลี่ยนแปลงการทำงานของตัวเองเป็นหลัก โดยอาจจะมองจากคู่แข่ง หาโอกาสที่อยู่รอบตัวนำมาใช้
กลุ่มสอง Trust in the Journey คือกลุ่มที่รับฟังความคิดเห็นของลูกค้า ทำความเข้าใจลูกค้า แล้วนำมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ในเรื่องนี้ Design Thinking มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้การออกแบบสินค้าและบริการต่างๆ ตอบโจทย์ลูกค้า
กลุ่มสาม Orchestrating the future ที่คิดถึงโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ยกตัวอย่างจากกรณีของ Beam เป็นธุรกิจออนไลน์ ที่พยายามทำให้การแปรงฟันมีความฉลาดมากขึ้น เพื่อไปเชื่อมโยงกับโมบาย ก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ อย่างธุรกิจประกัน กับการดูแลสุขภาพช่องปาก หรือธุรกิจคลินิกทำฟัน
กลุ่มสุดท้าย Innovation in Motion กลุ่มที่รับฟังความคิดเห็นจากพนักงาน นำมาสร้างเป็นนวัตกรรม อย่างเช่นแบรนด์ Haier ที่ให้พนักงานออกความเห็นในการผลิตสินค้าใหม่จนได้เป็นตู้เย็น 3 ประตู ที่สร้างรายได้ให้กับบริษัทจำนวนมาก