ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ปี 2561ธุรกิจเคมิคอลส์มีรายได้จากการขาย 53,905ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 จากไตรมาสก่อน จากราคาขายของผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลง แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับงวด5,415ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 43 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมลดลงและมีการขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ
ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างในปี 2561 มีรายได้จากการขาย 182,952ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากปีก่อน ตามการขยายตัวของความต้องการใช้ซีเมนต์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมถึงการฟื้นตัวของโครงการอสังหาริมทรัพย์และการขยายตัวของการก่อสร้างในภูมิภาคโดยมีกำไรสำหรับปี5,984ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 จากปีก่อน สาเหตุหลักจากการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีในไตรมาสที่3ปี 2561ทั้งนี้เมื่อไม่รวมการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีกำไรสำหรับปีจะเท่ากับ7,304 ล้านบาท
ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างมีรายได้จากการขาย 45,728ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการขยายตัวของการก่อสร้างในประเทศไทยและในภูมิภาค โดยมีกำไรสำหรับงวด1,558ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 488 จากไตรมาสก่อน ผลจากการปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีใน
ไตรมาสที่3ปี2561และเพิ่มขึ้นร้อยละ49 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นในไทยและภูมิภาคอาเซียน
ธุรกิจแพคเกจจิ้งในปี 2561 มีรายได้จากการขาย 87,255ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากปีก่อน โดยมีกำไรสำหรับปี6,319ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 จากปีก่อน จากโครงการลดต้นทุนของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ และความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เติบโตต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ
ขณะที่ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ธุรกิจแพคเกจจิ้งมีรายได้จากการขาย 21,283ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณการขายที่ลดลงทั้งในธุรกิจบรรจุภัณฑ์และธุรกิจเยื่อและกระดาษ โดยมีกำไรสำหรับงวด1,492ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
รุ่งโรจน์กล่าวว่า“ปี 2562 นี้ เอสซีจียังคงเน้น2กลยุทธ์หลักคือ การสร้างเสถียรภาพทางการเงิน (Stability)ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและทันท่วงทีเพื่อรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรของเอสซีจีโดยรวมในปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ9ซึ่งถือว่าแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับผลประกอบการของอุตสาหกรรมในภาพรวม อีกทั้งฐานะทางการเงินยังคงแข็งแกร่งเช่นกันโดยมีสัดส่วนNet Debt to EBITDA อยู่ที่1.7เท่าขณะที่เงินกู้เกือบทั้งหมดเป็นเงินบาทและเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่กว่าร้อยละ 90ส่วนกระแสเงินสดมีเสถียรภาพจากผลการดำเนินงานของธุรกิจหลักที่มั่นคง
อีกกลยุทธ์ คือ การบริหารจัดการความเติบโตของธุรกิจในระยะยาว (Long-term Growth)โดยนอกจากจะให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจอย่างยั่งยืนแล้ว ปีนี้เอสซีจีจะมุ่งเน้นการส่งมอบโซลูชั่นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้แบบเบ็ดเสร็จ ครบครันยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโซลูชั่นของธุรกิจเคมิคอลส์เช่นการให้บริการสารเคลือบเตาเผาเพื่อประหยัดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมและการให้บริการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่การออกแบบพื้นที่ติดตั้งและบริการหลังการขายธุรกิจแพคเกจจิ้งที่มุ่งเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ครบวงจรพร้อมขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เช่นการให้บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับลูกค้ากระทั่งการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตซ้ำอีกครั้งและธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเช่น โซลูชั่นการก่อสร้าง(Construction Solutions) ที่ผนวกความเชี่ยวชาญด้านการผลิตสินค้าคุณภาพสูงพร้อมเทคโนโลยีล้ำสมัยมาพัฒนาเป็น 9 โซลูชั่นหลักเช่น Life-time Solutionที่ให้บริการสำรวจความเสียหายโครงสร้างอาคารด้วยอุปกรณ์ทางวิศวกรรมที่แม่นยำก่อนออกแบบวิธีการดำเนินการต่อเติมและเสริมกำลังโครงสร้างให้เบ็ดเสร็จนอกจากนี้ เอสซีจียังมุ่งให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้ทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย